งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88779 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
ผู้วิจัย นิตยา มูลรัตน์ และ สุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 92920 ครั้ง ดาวน์โหลด 356 ครั้ง
ปฏิกิริยาสีน้้าตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกท้าลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะท้าให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ท้าให้เกิดปัญหาที่ส้าคัญและเป็นตัวก้าหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่้า ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จ้านวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส้าคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ท้าให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จ้านวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)
ผู้วิจัย ณัฐดนัย สีทองทุม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88767 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
ศึกษาชนิดของวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตพริกขี้หนูลูกผสมF1 พันธุ์ซุปเปอร์ฮอท 2 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) มีทั้งหมด 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมดิน ฟางข้าว หญ้าคา แกลบดิบ และเปลือกมะพร้าวสับคลุมดิน ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุคลุมดินต่างชนิดกันทุกกลุ่มทดลองให้ความสูงไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการใช้แกลบดิบคลุมดิน มีแนวโน้มจะให้ความกว้างทรงพุ่มและน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด
ผู้วิจัย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88333 ครั้ง ดาวน์โหลด 33 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
Effect of Mulching on Growth and Yield of Laplae Multiply Onion
โดย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Designs(RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 แปลง ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้วัสดุคลุมดิน กลุ่มทดลองที่ 2 คลุมดินด้วยแกลบดิบ กลุ่มทดลองที่ 3 คลุมดินด้วยฟางข้าว และกลุ่มทดลองที่ 4 คลุมดินด้วยผักตบชวา ผลการทดลองพบว่า ด้านการเจริญเติบโต การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด คือ 26.71 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ความยาวรากเฉลี่ยและอุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นน้อยที่สุด คือ 7.00 เซนติเมตร และ 32.77 องศาเซลเซียส และ 31.48 องศาเซลเซียส ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ฟางข้าว มีความสูงเฉลี่ยของ-ต้น ความยาวรากเฉลี่ย อุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นปานกลาง คือ 25.15 เซนติเมตร 7.20 เซนติเมตร 33.98 องศาเซลเซียส และ 32.33 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนด้านการให้ผลผลิตพบว่า การใช้แกลบดิบเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีแนวโน้มให้จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่มากที่สุด คือ 4.29 กอต่อต้น 0.57 กิโลกรัมต่อแปลง และ 90.66 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 4.10 กอต่อต้น 0.53 กิโลกรัมต่อแปลง และ 85.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้วัสดุคลุมดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของหอมแบ่ง ถ้าดูในภาพรวม การเลือกใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน น่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือแกลบดิบ ถึงแม้ว่าบางดัชนีตัวชี้วัดของผักตบชวาจะมีค่าน้อยกว่าแกลบดิบ แต่ก็ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการมีวัสดุคลุมดินช่วยลดอุณหภูมิของวัสดุปลูกได้ดีกว่าการไม่ใช้วัสดุคลุมดิน