งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89273 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง
การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production โดย นางสาวจันทิมา ขันแข็ง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53 21.00 23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00 44.20 33.60 22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)
ผู้วิจัย นายมโนรม ขอสุข | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89123 ครั้ง ดาวน์โหลด 63 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตของคะน้าสายพันธุ์แม่โจ้ 1
Effectof Golden Apple Snail Bio-Extract onGrowthandYieldofChineseKale “Maejo 1”
โดย นายมโนรม ขอสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของคะน้าสายพันธุ์แม่โจ้ 1 ที่ปลูกในถุงดำโดยวางแผนทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลองคือ 1.) ไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ (Control) 2.) น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก 3.) น้ำหมักชีวภาพจากไข่หอยเชอรี่ 4.) น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ 5.) น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และเปลือกหอยเชอรี่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และเปลือก หอยเชอรี่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีค่าความสูงเฉลี่ยของต้น ความกว้างและความยาวของใบเฉลี่ย น้ำหนักผลผลิตสดลำต้นพร้อมรากและน้ำหนักลำต้นสดเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 15.23 เซนติเมตร 6.71 เซนติเมตร 14.23 เซนติเมตร 13.33 กรัมต่อต้น และ 15.00 กรัมต่อต้น ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ น้ำหมักชีวภาพจากไข่หอยเชอรี่ น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก และน้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ตามลำดับ ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น หากต้องการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักคะน้า และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี แนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และเปลือก หอยเชอรี่ จะมีความเหมาะสมมากที่สุด
สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88540 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
ผู้วิจัย พรพิศ สมพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88671 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง
ประสิทธิภาพเหยื่อล่อหอยเชอรี่จากพืช
Efficacy of Golden Apple Snail Bait from Plants
โดย นางสาวพรพิศ สมพร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพในการใช้พืชชนิดต่างๆ เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ เพื่อล่อให้หอยเชอรี่กินเหยื่อมากขึ้นหรือล่อให้มารวมกลุ่มกันจำนวนมากและง่ายต่อการกำจัด วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้ใบผักบุ้งใบมันสำปะหลัง ใบมันเทศ และใบมะละกอเปรียบเทียบกับเหยื่อล่อสำเร็จรูปเป็นลักษณะให้หอยเชอรี่เลือกอาหาร (choice test) ผลการทดลองพบว่าเมื่อถัวเฉลี่ยระยะเวลา 12 ชั่วโมง เหยื่อล่อใบมันเทศมีประสิทธิภาพดีที่สุด สามารถล่อหอยเชอรี่ให้มารวมกลุ่มกันได้มากที่สุด เฉลี่ยคือ 39.31 % รองลงมาได้แก่ เหยื่อล่ออาหารปลาดุก ใบผักบุ้ง ใบมันสำปะหลัง และใบมะละกอ มีค่าเท่ากับ 33.49 33.46 28.24 และ 20.95 % ตามลำดับ แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายชั่วโมงพบว่า การใช้เหยื่อล่อจากใบมันเทศ จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ภายใน 7 ชั่วโมงแรก รองลงมาคือ อาหารปลาดุก ใบผักบุ้ง และใบมันสำปะหลัง ในขณะที่เหยื่อล่อใบมะละกอ อาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้นประมาณชั่วโมงที่ 6 ถึง 10 จึงจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ดังนั้นถ้าต้องการประสิทธิภาพในการเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ให้มารวมตัวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัดหรือผสมกับเหยื่อพิษภายใน 6 ชั่วโมงแรก ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมันเทศ แต่ถ้า 8 ชั่วโมง ขึ้นไป ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมะละกอ จึงจะได้ผลดีที่สุด