งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92921
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92870
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92279

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียวดำ และแป้งมันสำปะหลังต่อคุณลักษณะบ่งชี้คุณภาพของเส้นก๋วยจั๊บอบแห้ง
ผู้วิจัย กฤษณา ขยายวงศ์ และ กอบแก้ว แหวนเงิน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89291 ครั้ง ดาวน์โหลด 110 ครั้ง

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวเหนียวดำ ต่อลักษณะบ่งชี้คุณภาพของเส้นก๋วยจั๊บ โดยแปรอัตราส่วน 3 ระดับ คือ 8:1 3.5: 1 และ 3:2 ตามลำดับ ทำการอบแห้งที่อุณหภูมิ 70 °C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเนื้อสัมผัส ได้แก่ ค่าสี ค่าการหดตัว ความสามารถในการคืนตัว ค่า Elasticity และค่า Hardness ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำ ค่าสี L* และค่าสี b* ของเส้นก๋วยจั๊บมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) แต่ทำให้ค่า a* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และค่าการหดตัวเมื่อวัดจากน้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะเมื่อวัดจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีแนวโน้มลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำ ความสามารถในการคืนตัวเมื่อวัดจากน้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะเมื่อวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำและลดปริมาณแป้งข้าวเจ้า และค่า Elasticity และ ค่า Hardness ของเส้นก๋วยจั๊บมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำและลดปริมาณแป้งข้าวเจ้า



ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88733 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์             ซุปเปอร์ฮอท2
                            Effect of  Wild Spikenard Bush-Tea  Extracted on Growth and Yield of                        Super-Hot 2 Bird Chilli

โดย                  นายธีระโชติ  ขูลีลัง

ชื่อปริญญา       วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร  น้อยทรง

 

ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด

(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา

 



การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มะเขือเทศพันธุ์สีดา
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89253 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง

ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม



ศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทอดกล้วยไข่ดิบก่อนการ แช่เยือกแข็งที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพของเฟรนช์ฟรายส์กล้วยไข่
ผู้วิจัย จิราวรรณ์ ลุนพันธ์ และ สำเนียง ณะวงวิเศษ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 89978 ครั้ง ดาวน์โหลด 52 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทอดกล้วยไข่ดิบก่อนการแช่เยือกแข็งที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพของเฟรนช์ฟรายส์กล้วยไข่เนื่องจากผลกล้วยเหมาะต่อการบริโภคสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารในการบริโภคสด หรือ การแปรรูปเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน และได้เล็งเห็นถึงปัญหาของกล้วยซึ่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณมากและราคาต่ำ ในบางช่วงของปี จึงต้องการเพิ่มมูลค่าของกล้วยไข่ดิบโดยมีอุณหภูมิและเวลาในการทอดก่อนการแช่เยือกแข็งที่ทำการศึกษา คือ อุณหภูมิที่ใช้ทอดได้แก่ 140, 150 และ 160 องศาเซลเซียสและเวลา 20, 40 และ 60 วินาที วิเคราะห์ทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ความกรอบ และโอกาสการเกิดกลิ่นหืน ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิและเวลาที่แตกต่างในการทอดมีผลทำให้ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) และโอกาสการเกิดกลิ่นหืนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ซึ่งแสดงโดยการวิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีแนวโน้มต่อค่าความกรอบ การประเมินทางด้านประสาทสัมผัส โดยผู้ประเมินทั่วไป พบว่าอุณหภูมิและเวลาในการทอดก่อนการแช่เยือกแข็งของผลิตภัณฑ์เฟรนช์ฟรายส์จากกล้วยไข่ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์เฟรนช์ฟรายส์จากกล้วยไข่อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05)


เข้าสู่ระบบ