งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92921
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92870
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92279

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยา บางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย สิทธิพร ศิริไทย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88172 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง

ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้าปกติ กลุ่มแล้ง และกลุ่มที่ได้รับการพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทาการเพาะเมล็ดและปลูกในกระถางบรรจุดินเป็นเวลา 14 วัน งดให้น้า 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสภาวะแล้งส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหอมนิลลดลง ยกเว้นความยาวราก ส่วนกรดซาลิไซลิกช่วยให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีขึ้นโดยทาให้ความยาวราก น้าหนักสดรากและลาต้น และน้าหนักแห้งลาต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของต้นกล้าข้าวหอมนิล ทั้งนี้จากการทดลองสามารถสรุป ได้ว่ากรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด



การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87947 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว

                      Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus

                      Squarrosulus Production

โดย                 นางสาวเกศศิริ  วงษ์ลา

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง

                     

    ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5

กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง  โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50   เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน

ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ

แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น

 

คำสำคัญ เห็ดขอนขาว กิ่งยูคาลิปตัสสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต



การย่อยได้ของใบตองหมักกากน้ำตาลโดยใช้เทคนิคถุงไนล่อน
ผู้วิจัย ชินวัฒน์ ชูรัตน์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88610 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง



ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของข้าวหอมนิลในนาแบบเปียกสลับแห้ง
ผู้วิจัย สัจจะ ศรีระทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88792 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง

เรื่อง   ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมนิล

ในนาแบบเปียกสลับแห้ง

Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of Hom Nin Rice Variety Under Alternating  Wetting and Drying Condition

โดย                              นาย สัจจะ  ศรีระทา

ชื่อปริญญา                  วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารที่ปรึกษา           อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา

 

การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพนาเปียกสลับแห้ง โดยทำการศึกษา ณ แปลงทดลองของเกษตรกร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก  (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4  กลุ่มทดลองๆละ3ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยกลุ่มทดลองที่ 2ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่กลุ่มทดลองที่3ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร

16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ และกลุ่มทดลองที่4ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45 กก./ไร่ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา45 กก./ไร่ ทำให้ข้าวหอมนิล มีความสูงช่วง 30 และ 60 วัน จำนวนรวงต่อกอน้ำหนักเมล็ดข้าวจำนวน100 เมล็ดค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และผลผลิตเมล็ดข้าว มีค่าสูงที่สุด แต่เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกกลุ่มทดลองนอกจากนี้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง สามารถลดต้นทุนการผลิต เป็นการใช้น้ำแบบประหยัดแต่ยังคงให้ผลผลิตข้าวในอัตราที่สูง จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำได้


เข้าสู่ระบบ