งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92916
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92861
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92276

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท ด้วยการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์
ผู้วิจัย ทักษ์ดนัย ขันคำ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88318 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                       การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทด้วยการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์

          Prolonging of Storability of Bird Chilli (cv. Superhot) with       Hot Water Dip Combined with Packaging

โดย                         นายทักษ์ดนัย  ขันคำ

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2557

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.วิรญา  ครองยุติ

 

การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที เปรียบเทียบกับการจุ่มในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง (ชุดควบคุม) และบรรจุในถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) และถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีน ผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) และนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส จนหมดอายุการเก็บรักษา พบว่าพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุกที่ผ่านการจุ่มน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที ร่วมกับการบรรจุในถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เปอร์เซ็นต์การเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด    คือ 16 วัน แต่ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างวิธีการการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้ แต่ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าชุดควบคุม



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89263 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม                                                   Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for                                                         Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production                   โดย                              นางสาวจันทิมา ขันแข็ง                                                               ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)                                              ปีการศึกษา                   2556                                                                                        อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53  21.00  23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00  44.20  33.60  22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้     ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย       คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25%  สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)

 



ผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของแตงกวาลูกผสมไมโครซี 306
ผู้วิจัย นางสาวจตุพร บุญเลิศ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88573 ครั้ง ดาวน์โหลด 53 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                 ผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวา  ลูกผสม ไมโครซี 306

Effects of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of  Hybrid Cucumber Micro C 306

โดย                  นางสาวจตุพร  บุญเลิศ

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2558

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ประภัสสร   สมบัติศรี

 

ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวาลูกผสม ไมโครซี 306 โดยวางแผนทดลองแบบ Randomized Complete Block Design  (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ใช้แปลงปลูกขนาด 1x10 เมตร จำนวน 12 แปลงๆ ละ 16 ต้น ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลโค 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อแปลง  น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อไร่  มากที่สุด และให้ผลผลิตเกรด A มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง เท่ากับ 18.65 เซนติเมตร 11.67 เซนติเมตร 100.81 กรัมต่อผล 4.85 กิโลกรัมต่อแปลง 775.33 กิโลกรัมต่อไร่ และ 2.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อแปลง  น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 12.13 เซนติเมตร 11.08 เซนติเมตร 96.28 กรัมต่อผล 4.63 กิโลกรัมต่อแปลง และ 740.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และให้ผลผลิตเกรด A มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 27.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เพียงอย่างเดียว ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกแตงกวาลูกผสมไมโครซี 306 เนื่องจากมีแนวโน้ม ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล และให้ผลผลิตเกรด A น้อยที่สุด คือ 14.87 เซนติเมตร 9.14 เซนติเมตร และ 1.63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นในการปลูกแตงกวาพันธุ์ลูกผสมไมโครซี 306 แนะนำให้ใช้ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร หรือปุ๋ยมูลไก่



ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88314 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง

เรื่อง                          ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ  Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro

โดย                          นางสาวพิลาวรรณ  จันทะโคตร

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ  การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l


เข้าสู่ระบบ