งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย อภิสิทธิ์ พันธุ์เพ็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88103 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของ ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2
Study of Farm Yard Manure and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Sweet Corn (cv. Insea 2)
โดย นายอภิสิทธิ์ พันธุ์เพ็ง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ ผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ทาการทดลองในแปลงเกษตร ที่บ้านปากห้วยวังนอง หมู่ 6 ตาบลปทุม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จานวน 3 ซ้า ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลทดลองพบว่าความสูงของต้นข้าวโพดหวานอินทรี 2 เมื่ออายุ 20 30 40 50 และ 60 วันหลังปลูก กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงของข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง (P≤0.01) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้าหนักฝักสดพร้อมเปลือก น้าหนักฝักสดปอกเปลือก และความยาวฝัก ของข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 มีแนวโน้มมากที่สุดคือ 2,118 กิโลกรัมต่อไร่ 1,410 กิโลกรัมต่อไร่ และ 16.1 ซม.ตามลาดับ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่า 2,108 กิโลกรัมต่อไร่ 1,403 กิโลกรัมต่อไร่ และ 15.6 ซม. ดังนั้นอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ที่เหมาะสม ที่แนะนาให้ใช้แทนปุ๋ยเคมีพียงอย่างเดียวและลดต้นทุนการผลิตคือการใช้ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่
ผู้วิจัย ทิพย์สุดา วงศ์กลม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88932 ครั้ง ดาวน์โหลด 38 ครั้ง
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดียว โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1 มีผลใกล้เคียงกันที่ทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลเสริมวัวอัตราส่วน 1:1 ยังมีผลทำให้ผักกาดกวางตุ้งโชว์จีน มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี และปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1ร่วมกับสารละลายมาตรฐานอนินทีย์ สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้
ผู้วิจัย นุชรัตน์ ปูกะธรรม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88744 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต
ข้าวขาวดอกมะลิ105ในพื้นที่อาเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Effect of Chemical and Organic Fertilizer Utilization on
Growth and Yield of KDML 105 Rice in Khemmarat District
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวนุชรัตน์ ปูกะธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทาการทดลองในแปลงเกษตรกรตาบลหนองสิม อาเภอเขมราฐจังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ร่วม กับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่และ สูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่าน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอกให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวเป็น 109 เซนติเมตร จานวนรวง 201 รวงต่อตารางเมตรน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยของข้าว 269 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสูงที่สุด และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ในค่าน้าหนักเมล็ดข้าว 100 เมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว รองลงมา คือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากัน และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่านข้าว และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอก
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว
ผู้วิจัย ธรรมโรจน์ บัวแก้ว | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89388 ครั้ง ดาวน์โหลด 49 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการ
เจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of New 29 A TA159 Broccoli Variety
โดย นายธรรมโรจน์ บัวแก้ว
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA 159 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้าๆ ละ 60 ต้น ขนาดแปลง 1X10 เมตร ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี (อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง) มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนใบเฉลี่ย น้าหนักดอกรวมก้านเฉลี่ยต่อต้น น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของดอก และเกรด B มากที่สุด คือ 32.29 เซนติเมตร 10.54 ใบต่อต้น 458.93 กรัม 14.31 กิโลกรัมต่อแปลง 70.00 เปอร์เซ็นต์ 6.15 นิ้ว และ 73.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับน้าหมักมูลไก่ (อัตรา 1 ลิตรต่อน้า 20 ลิตร) ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนใบเฉลี่ย น้าหนักดอกเฉลี่ยต่อต้น น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของดอก และเกรด B ของบร็อคโคลี เท่ากับ 20.73 เซนติเมตร 10.02 ใบต่อต้น 106.90 กรัม 1.42 กิโลกรัมต่อแปลง 17.78 เปอร์เซ็นต์ 2.94 นิ้ว และ 23.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ในขณะที่ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับน้าหมักเปลือกผลไม้ (อัตรา 10 ซีซี ต่อน้า 20 ลิตร) ไม่แนะนาให้ใช้ในการปลูกบร็อคโคลี เนื่องจากไม่สามารถส่งเสริมให้บร็อคโคลีเกิดดอกหรือผลผลิตได้ และต้นมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
คาสาคัญ บร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักอินทรีย์