งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92939
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92879
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92294

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย นางสาวรุจิรา วันบัวแดง | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87602 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง

Using Chopped Leucaena Branch to Substitute Sawdust for

Spilt Gill Mushroom (Schizophylum commune) Production

โดยนางสาวรุจิรา    วันบัวแดง

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2558

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ดร.เสกสรร  ชินวัง

 

ศึกษาการทดลองใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครงวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100%กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25%กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% กิ่งกระถินสับ 50%กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% กิ่งกระถินสับ 75%กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งกระถินสับ 100%พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเท่ากับขี้เลื่อย 100% คือ 15.1 วัน ซึ่งนานกว่าวัสดุเพาะชนิดอื่นๆ แต่มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 66.3 ดอก/ถุง และไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดปานกลาง (4.8 กรัม/ถุง) ซึ่งรองจากขี้เลื่อย 100% ดังนั้น การใช้ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% จึงเหมาะที่จะใช้ทดแทนขี้เลื่อย 100% นอกจากนี้ พบว่า การใช้อัตราส่วนของกิ่งกระถินสับเพิ่มมากขึ้นในวัสดุเพาะ ถึงแม้จะมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วขึ้น แต่จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง



การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2: กรณีศึกษา อำเภอชานุมา จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้วิจัย ธราวุฒ สุวอ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88352 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต      ของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2: กรณีศึกษา อำเภอชานุมาน              จังหวัดอำนาจเจริญ

Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2): A Case Study of Chanuman District, Amnat Charoen Province

โดย                          นายธราวุฒ สุวอ

ชื่อปริญญา                  วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                  2557

อาจารย์ที่ปรึกษา           อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา

 

งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรบ้านหินสิ่ว ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่  5) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่  ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้นงาขาว น้ำหนักผลผลิตรวมทั้งหมด น้ำหนักแห้งของเมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวมากที่สุด คือ 175.2 เซนติเมตร 4,608 กก./ไร่ 362 กก./ไร่ และ.0.079 รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักแห้งผลผลิตรวมปานกลาง แต่ให้น้ำหนักแห้งเมล็ดเฉลี่ย และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุด แต่การใส่ปุ๋ยทุกรูปแบบ ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของงาขาวมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยและมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)

คำสำคัญ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก (มูลวัว)



ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88333 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง

เรื่อง                          ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ  Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro

โดย                          นางสาวพิลาวรรณ  จันทะโคตร

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ  การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l



การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง
ผู้วิจัย นิตยา มูลรัตน์ และ สุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 92939 ครั้ง ดาวน์โหลด 356 ครั้ง

ปฏิกิริยาสีน้้าตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกท้าลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะท้าให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ท้าให้เกิดปัญหาที่ส้าคัญและเป็นตัวก้าหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่้า ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จ้านวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส้าคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ท้าให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จ้านวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)


เข้าสู่ระบบ