งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย พรรณภัทร คำลอย และ สุมาลิน มังคละ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 92070 ครั้ง ดาวน์โหลด 248 ครั้ง
งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและเพิ่มทางเลือกให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเต้าหู้แข็ง การศึกษาอัตราส่วนระหว่างถั่วเหลืองกับข้าวโพดสีม่วงที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของเต้าหู้แข็งสีม่วง ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีหลังการแปรรูปของผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีผล ต่อผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง โดยกำหนดปริมาณข้าวโพดสีม่วงเท่ากับร้อยละ 0 10 และ 20โดยน้ำหนักของ ถั่วเหลืองทั้งหมด ผลการวัดค่าสี (L*a* และ b*) พบว่าค่าสี L* และค่า b* ของเต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) แต่การเพิ่มปริมาณของข้าวโพดสีม่วงเป็นผลให้ค่า สี a* มีแนวโน้มสูงขึ้น (p≤0.05) และการวิเคราะห์ลักษณะทางเนื้อสัมผัสของเต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง พบว่าค่า hardness มีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวโพดสีม่วงที่เติมลงไป ผลการวิเคราะห์ทางเคมี พบว่าปริมาณสารแอนโทไซยานินของผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีหลังการแปรรูป พบว่าโปรตีนในผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p≤0.05) ตามปริมาณข้าวโพดสีม่วงที่เพิ่มขึ้น ไขมันมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ตามปริมาณข้าวโพดสีม่วงที่เพิ่มขึ้นและเถ้ากับความชื้นมีแนวโน้มที่ไม่แตกต่าง (p>0.05) และการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่า ค่าคะแนนสี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และความชอบรวม ของเต้าหู้แข็งที่เติมข้าวโพดสีม่วงร้อยละ 10 มีแนวโน้มสูงกว่าตัวอย่างที่ไม่เติมข้าวโพดสีม่วง และที่เติมร้อยละ 20 โดยได้ค่าคะแนน 4.64 4.70 4.08 4.38 และ 4.80 ตามลำดับ
ดังนั้นจากงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักได้การยอมรับจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคมากที่สุด มีลักษณะเนื้อสัมผัส และรวมถึงค่าhardnessที่ใกล้เคียงกับสูตรควบคุม และยังมีโปรตีนที่มากกว่าสูตรควบคุม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งที่ผลิตจากถั่วเหลือง ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88745 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
Effect of Wild Spikenard Bush-Tea Extracted on Growth and Yield of Super-Hot 2 Bird Chilli
โดย นายธีระโชติ ขูลีลัง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด
(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา
ผู้วิจัย อัครพล สมดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89423 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ของผักกวางตุ้ง
Study on Efficiency of Bio-Fertilizer on Growth and Yield of
Chinese Cabbage
โดย นายอัครพล สมดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การใช้สารสกัดชีวภาพจากเศษปลา สารสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ สารสกัดชีวภาพจากเศษผัก และใช้น้ำธรรมดา เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งมากที่สุด และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.01) โดยมีความสูงเฉลี่ย 39.20 เซนติเมตร ความกว้างใบเฉลี่ย 13.40 เซนติเมตร ความยาวใบเฉลี่ย 31.30 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 20.43 กิโลกรัม รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษผักตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำธรรมดา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
ผู้วิจัย นางสาวพรทิพย์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88717 ครั้ง ดาวน์โหลด 22 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของ BA ต่อการเกิดยอดของดาหลาในสภาพปลอดเชื้อ
Effects of BA Shoot Induction of Torgh Ginger (Etlingera elatior (Jack)
R.M.Smith) in vitro
โดย นางสาวพรทิพย์ หงษ์คำ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ต่อการเกิดยอดของดาหลาในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 8 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) โดยปัจจัย A ได้แก่ สายพันธุ์ดาหลา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ a1 = ดาหลาดอกสีแดง และ a2 = ดาหลา
ดอกสีชมพู และ ปัจจัย B คือ สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน (BA) แบ่งเป็น 8 ระดับ คือ b1= 0 mg/l, b2 = 1 mg/l, b3 = 2 mg/l, b4 = 3 mg/l, b5 = 4 mg/l, b6 = 5 mg/l, b7 = 6 mg/l และ b8 = 7 mg/l รวมทั้งสิ้น 16 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 10 ซํ้า ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงดาหลาและพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนยอด ความสูงเฉลี่ยของยอด และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 2.62 เซนติเมตร 0.50 ยอด 0.49 เซนติเมตร และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยอดใหม่ที่เกิดขึ้นสามารถ พัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ได้ โดยดาหลาพันธุ์สีชมพูมีการตอบสนอง BA ได้ดีกว่า ดาหลาพันธุ์สีแดง