งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92919
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92864
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92276

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช จากใบมันสาปะหลังและแมงลักคา
ผู้วิจัย สุนทร วงวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88233 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชจากใบมันสาปะหลังและแมงลักคา
Efficacy of Weed Control from Cassava and Mintweed Leaves โดย นาย สุนทร วงวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาในการยับยั้งการเจริญเติบโตวัชพืชสาบม่วง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 4 ซ้าๆ ละ 8 กรรมวิธี รวมจานวนหน่วยทดลองทั้งหมด 32 หน่วยทดลองโดยมีกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ให้น้าตามปกติและกลุ่มพ่น เอทิลแอลกอฮอล์ 20% และกลุ่มที่ได้รับการพ่นด้วยสารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา ความเข้มข้น 1, 10, และ 20% และพ่นทุกๆ 7 วัน จนครบ 28 วัน วัดการเจริญเติบโตของสาบม่วง 5 ลักษณะ คือ ความสูง จานวนใบ
ความยาวราก น้าหนักสดและน้าหนักแห้ง ผลการทดลอง พบว่า สารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงได้ทั้ง 5 ลักษณะ โดยสารสกัดของแมงลักคาความเข้มข้น 20 % มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงดีที่สุดรองลงมาคือสารสกัดของใบมันสาปะหลัง 20 % การเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัด
ใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาทาให้การยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงเพิ่มขึ้น



การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
ผู้วิจัย วงศ์สุดา พลเยี่ยม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88392 ครั้ง ดาวน์โหลด 63 ครั้ง

การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว                                        Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for                                                      Lentinus squarrosulus  Production                             โดย                       นางสาววงศ์สุดา พลเยี่ยม                                                        ชื่อปริญญา                      วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                      ปีการศึกษา                   2556                                                                             อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

               ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะ เวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดดีที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบ-ยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25%  ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลำดับ สำหรับจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 3.06 2.60 2.33 1.00 และ 1.00 ดอก/ถุง ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดขอนขาวสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 5 และกลุ่มทดลองที่ 4  โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 14.27 11.08 7.21 1.40 และ 1.27 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเฉลี่ยสูงที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต
ผู้วิจัย นายชุติพนธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88828 ครั้ง ดาวน์โหลด 47 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี                            

                           ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต

                           Comparison of Chemical and Liquid Biostimulant Fertilizer     

                           Efficiency On Growth and Yield of Hybrids Radish var.  White                  

                           Rocks Kate

โดย                     นายชุติพนธ์  ทิมา

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน  

 

            ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ตวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 100 ต้น โดยเตรียมแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยต่อหัว และผลผลิตเกรด A มากที่สุด คือ 672.67 กรัมต่อหัว 7.40 เซนติเมตร และ 88.33 % ตามลำดับ และมีความยาวเฉลี่ยของหัวปานกลาง คือ 21.43 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 รวมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว

มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 32.73 เซนติเมตร และมีค่าน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัว และผลผลิตเกรด A ปานกลาง คือ 612.33 กรัมต่อหัว 6.60 เซนติเมตรและ 71.66 %ในขณะที่การปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีค่าดัชนีตัวชี้วัด เกือบทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกาดหัวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว เนื่องจาก ทุกดัชนีชี้วัด ยกเว้นความสูงและความยาวเฉลี่ยของผล มีค่ารองลงมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 



ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืช ในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง
ผู้วิจัย นายภาณุวัฒน์ บุญพิชิตทรชน | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88333 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง
Efficacy of Plant Extracts for Hawm Thung Rice Insect Pests Control
โดย นายภาณุวัฒน์ บุญพิชิตทรชน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชในท้องถิ่น เปรียบเทียบกับสารสกัดจากพืชทางการค้า ในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวหอมทุ่ง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete Block Design (RCBD) จานวน 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 5 ซ้า ดังนี้ สารสกัดจากแมงลักคา สารสกัดจากผกากรองป่า สารสกัดจากแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า และสารสกัดจาก สะเดา (การค้า) ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 500 มิลลิลิตร ต่อน้า 500 มิลลิลิตร ห่างกันทุกๆ 7 วัน เมื่อข้าวเริ่มออกรวง ผลการทดลองพบว่า การใช้สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จานวนเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และ แมลงสิง ลดลงมากที่สุด โดยการฉีดพ่นครั้งที่ 5 มีจานวนเพลี้ยจั๊กจั่นลดลง 95.35 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันสามารถทาให้จานวนแมลงสิงลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการฉีดพ่นครั้งที่ 4 เท่านั้น นอกจากนี้ การใช้สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่ายังมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือมีค่าเท่ากับ 2.06 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร หรือ 412 กิโลกรัมต่อไร่ และมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์เมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทาลายน้อยที่สุด คือ 7.36 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ สาหรับการควบคุมเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว คือ สารสกัดจากแมงลักคา สามารถทาให้เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียวลดลง 94.44 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้สารสกัดสะเดาทางการค้า และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย 1.92 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร หรือ 384 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการควบคุมแมลงสิง พบว่า การใช้สารสกัดจากผกากรองป่า สามารถทาให้แมลงสิงลดลง 93.33 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) จากการใช้สารสกัดสะเดาทางการค้า ที่ทาให้แมลงสิงลดลง 88.89 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการควบคุมทั้งเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และ แมลงสิง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง แนะนาให้ใช้ สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงทั้ง 2 ชนิด ได้ดีกว่าการใช้สารสกัดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว


เข้าสู่ระบบ