งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92921
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92869
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92278

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืน ของน้ำมันถั่วเหลือง
ผู้วิจัย ธนิดา แก่นวงษ์ และ ปวีณา วงศ์ศรีทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89623 ครั้ง ดาวน์โหลด 57 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง โดยเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูล-อิสระ จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1,823.45 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสารสกัด ซึ่งมีปริมาณมากกว่าสารสกัดใบย่านางที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 957.52 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสาร-สกัด สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเท่ากับ 93.78 % Inhibition ซึ่งมีกิจ- กรรมการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดใบย่านาง มีค่าเท่ากับ 81.90 % Inhibition ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ปริมาณ สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อน้ำมันถั่วเหลืองที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 20:200 และ 100:200 วิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์และค่าโพลาร์ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมัน ชนิดสารสกัด อัตราส่วน ระยะเวลาการเก็บรักษา และยังมีปัจจัยร่วมที่มีผลต่อการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมันมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดน้ำมันมีผลร่วม กับระยะเวลาการเก็บรักษาชนิดน้ำมัน และชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดน้ำมันและชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดสารสกัดและอัตราส่วนมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้มสามารถชะลอ การเกิดเปอร์ออกไซด์ที่ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 17.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 100:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม มีค่าเท่ากับ 20.67 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะ- ม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม  มีค่าเท่ากับ 21.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้มสามารถชะลอการเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 28.67 มิลลิกรัม-สมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้ม มีค่าเท่ากับ 31.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 100:200 มีค่าเท่ากับ 36.00 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางทุกอัตราส่วน สามารถชะลอการเกิดกลิ่นหืนได้ในน้ำมันที่ต้มและน้ำมันที่ไม่ต้มไม่แตกต่างกัน ค่าโพลาร์มีค่าน้อยกว่า 20 % ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 25 จึงเหมาะแก่การบริโภค



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88779 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง



ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
ผู้วิจัย ณัฐวุฒิ กรงาม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88307 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด

                       Concentration of Sulfuric Acid on Dormancy Breaking of         

                       Traveller’s Palm Seed

โดย                  นายณัฐวุฒิ  กรงาม

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. สุจิตรา  สืบนุการณ์

 

  ศึกษาความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบ  3X5 Factorial in Completely Randomized  Design  ประกอบด้วย 15 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 2 ซ้ำๆ ละ 50 เมล็ด  เปรียบเทียบกับชุดควบคุม เป็นระยะเวลา 30 วัน  ผลการทดลอง  พบว่า การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น  75%  นาน  6 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 70  เปอร์เซ็นต์  อัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้ารวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตายเท่ากับ 13 และ 17% ตามลำดับ ในขณะที่ความยาวราก ความสูงต้นกล้า และความสูงต้นกล้ารวมรากเฉลี่ย มีค่าปานกลาง  คือ  4.55  4.45  และ 8.95 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น  75%  นาน  8 นาที  มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน  เปอร์เซ็นต์การงอก เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายเฉลี่ยปานกลาง  คือ มีค่าเท่ากับ  61  9  และ  30%  ตามลำดับ ความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้นกล้ารวมราก ไม่แตกต่างทางสถิติกับการแช่กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น  75%  นาน 6 นาที  คือ มีค่าเท่ากับ  4.70  และ  9.40  เซนติเมตร ส่วนความยาวรากเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.70 เซนติเมตร สำหรับความเข้มข้นและระยะเวลาในการแช่กรดซัลฟิวริกในการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 50%  นาน 2 นาที เนื่องจากไม่เกิดการงอกของเมล็ดตลอดระยะเวลาทำการทดลอง

 



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของผักกวางตุ้ง
ผู้วิจัย อัครพล สมดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89413 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                        ของผักกวางตุ้ง

                              Study on Efficiency of Bio-Fertilizer on Growth and Yield of

                              Chinese Cabbage

 โดย                      นายอัครพล สมดี

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

               การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การใช้สารสกัดชีวภาพจากเศษปลา สารสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ สารสกัดชีวภาพจากเศษผัก และใช้น้ำธรรมดา เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งมากที่สุด และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.01) โดยมีความสูงเฉลี่ย 39.20 เซนติเมตร ความกว้างใบเฉลี่ย 13.40 เซนติเมตร ความยาวใบเฉลี่ย 31.30 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 20.43 กิโลกรัม รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษผักตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำธรรมดา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด 


เข้าสู่ระบบ