การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
Comparison of Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Tomato var. Seeda ‘phedchompoo F1’
โดย นายจิรพงษ์ หงษ์คำ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 และเพื่อให้ทราบถึงชนิดของ
ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆละ 12 ต้น ดังนั้นกลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิต
มะเขือเทศสีดาเพชรชมพู F1 ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C หรือ รหัส 3 และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด คือ 61.47 เซนติเมตร 27 ผลต่อต้น 34.3 mm. 95.56% และ 3.34 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำครับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำให้มีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด คือ 19.23 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมลูสกร ให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด ไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมัก
โบกาฉิ คือ 18.96 กรัม และมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดของผลสดเฉลี่ย และผลเกรด C หรือ รหัส 3 อยู่ในระดับปานกลาง คือ 56.39 เซนติเมตร 33.3 mm. และ 64.44 % ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มให้ผลเกรด B หรือ รหัส 2 มากที่สุด คือ 22.22% ส่วน %TSS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50-5.67 °Brix