งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92932
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92287

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การเปรียบเทียบวิธีการผลิตชาใบย่านางผสมใบเตยแบบอบลมร้อนกับแบบดั้งเดิม
ผู้วิจัย ธนาภรณ์ ศรีเสมอ และ สุริวิมล ศรีโนนยาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90601 ครั้ง ดาวน์โหลด 76 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษารูปแบบอุณหภูมิและเวลาการอบแห้งด้วยวิธีอบลมร้อนชาใบย่านางผสมใบเตย ศึกษาความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ศึกษาอายุการเก็บรักษาและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค ของชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบวิธีดั้งเดิมและวิธีอบลมร้อน รูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตชาใบย่านางผสมใบเตยด้วยวิธีอบลมร้อน พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 60 °C นาน 7 ชั่วโมง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระทั้งหมด เท่ากับ 15.72 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิกต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) และ 86.96 % Inhibition ตามลำดับ ความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบดั้งเดิมกับการอบลม-ร้อน ระยะเวลาการเก็บรักษานาน 6 สัปดาห์ มีการเพิ่มของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดถึงสัปดาห์ที่ 3 และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ 4 5 และ 6 กิจกรรมการ-ต้านอนุมูลอิสระในชาใบย่านางผสมใบเตยที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40 °C และ 50 °C พบว่ากิจกรรม-การต้านอนุมูลอิสระแบบวิธีการอบลมร้อนมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่ำกว่าแบบดั้งเดิมที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 6 สัปดาห์ การประเมินการยอมรับของผู้บริโภคต่อสี กลิ่น ความชอบ-โดยรวมผู้บริโภคให้การยอมรับแบบดั้งเดิมมากที่สุด และความชอบต่อรสชาติวิธีอบลมร้อนผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด โดยอายุการเก็บรักษาของวิธีแบบดั้งเดิมและวิธีอบลมร้อน ที่อุณหภูมิห้อง (25 °C) มีอายุการเก็บรักษา 5 สัปดาห์ และ 7 สัปดาห์ ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากความชื้นพบว่าชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบดั้งเดิม ที่อุณหภูมิ 50 °C เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะมีการสูญเสียสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ สูญเสียความชื้นน้อย ค่าสีเขียวยังคงอยู่มากกว่าและการยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด



ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพการสกัด สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน
ผู้วิจัย เยาวภา กลมพันธ์ และ อนุพงษ์ บุญทัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91690 ครั้ง ดาวน์โหลด 241 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัดที่มีผลต่อ %TSS และค่าสีL* a* b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน โดยแปรค่อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 1:20 (w/v) 1:30 (w/v)และ 1:40 (w/v) และแปรอุณหภูมิการสกัดที่50 60 และ 70 ºC ระเหยที่อุณหภูมิ 80 ºC เป็นเวลา2 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ วัด % TSS และวัดค่าสี L* a* b* และศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสและเติมสารสกัดจากหญ้าหวาน เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่า อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัด สกัดได้โดยมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ระหว่าง3.00ºBrix เมื่อผ่านการระเหยพบว่ามีค่าของแข็งที่ละลายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.00–6.06ºBrix ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การวัดค่าสี L*a*b* อัตราส่วนหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ค่าสี L*a*b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวานแตกต่างกัน อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีผลทำให้ค่าสี L*a*b*แตกต่างกัน และการประเมินความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสตามท้องตลาดและเติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวานเพื่อประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยพบว่า น้ำเก๊กฮวยที่เติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน จำนวนผู้ทดสอบ 30 คน โดยผู้ทดสอบทั้ง 30 คน ตอบว่าแตกต่างกัน



การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ผลิตโคต้นน้ำ (ลูกโค)
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88542 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง



ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
ผู้วิจัย ขจรศักดิ์ บัวขาว | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89448 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง

ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง จานวน 3 ซ้า พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดคือ 33, 56, 73, 101 และ 132 เซนติเมตร เมื่อวัดความสูงที่ 14, 21, 28, 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลาดับ น้าหนักผลผลิตฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย 694 กิโลกรัมต่อไร่ และ และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ (P=0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยสาหรับ น้าหนักผลผลิตฝักทั้งเปลือกพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีแนวโน้มให้น้าหนักผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 1130 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติดังกลุ่มทดลองต่างๆ


เข้าสู่ระบบ