งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ทักษ์ดนัย ขันค้า | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88389 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทด้วยการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์
Prolonging of Storability of Bird Chilli (cv. Superhot) with Hot Water Dip Combined with Packaging
โดย นายทักษ์ดนัย ขันค้า
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยจุ่มน้้าร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที เปรียบเทียบกับการจุ่มในน้้ากลั่นที่อุณหภูมิห้อง (ชุดควบคุม) และบรรจุในถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) และถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีน ผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) และน้าไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส จนหมดอายุการเก็บรักษา พบว่าพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุกที่ผ่านการจุ่มน้้าร้อนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที ร่วมกับการบรรจุในถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้้าหนักสด เปอร์เซ็นต์การเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน แต่ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างวิธีการการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้ แต่ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าชุดควบคุม
คาสาคัญ การจุ่มน้้าร้อน บรรจุภัณฑ์ พริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท
ผู้วิจัย สมฤดี จันทมุด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88617 ครั้ง ดาวน์โหลด 42 ครั้ง
การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute Sawdust for Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamor) Production โดย นางสาวสมฤดี จันทมุด ชื่อปริญาญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 5 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากิน 25 % และ การใช้ขี้เลื่อย 50 % หญ้ากินนี 50 % มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเฉลี่ยเร็วที่สุด และ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติคือ 19.40 และ 19.66 วัน ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 % และ การใช้ขี้เลื่อย 100 % มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ย เท่ากับ 21 และ 21.93 วัน ตามลำดับ ใน ขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยนานที่สุดคือ 22.80 วัน ส่วนจำนวนดอกเฉลี่ย พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีแนวโน้มให้จำนวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ 8.53 ดอก/ถุง ในขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีจำนวนดอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.65 ดอก/ถุง สำหรับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 100% และการใช้ ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ 41.03 และ 37.16 กรัม/ถุง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 % หญ้ากินนี 50 % การใช้หญ้ากินนี 100 % และ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 28.67 27.77 และ 25.52 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้น อัตราส่วนของหญ้ากินนีที่เหมาะสมในการ เสริม หรือ ทดแทน ขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล คือ หญ้ากินนี 25 % ขี้เลื่อย 75 % เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อ จำนวนดอก และ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด และไม่แตกต่างกันทางสถิติ จากการใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะ
ผู้วิจัย ปวีณา ศักดาวงศ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89753 ครั้ง ดาวน์โหลด 2 ครั้ง
ผู้วิจัย รสสุคนธ์ คชยาพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88891 ครั้ง ดาวน์โหลด 61 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Micropropagation of Karanda (Carissa carandas L.)
โดย นางสาวรสสุคนธ์ คชยาพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
การขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วางแผนการทดลองแบบ 2×6 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งออกเป็น 12 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 10 ซ้้า ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลอง พบว่า การน้าตายอดและตาข้างมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 1 3 5 7 และ 9 ppm. ชิ้นส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ ตายอด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น จ้านวนวันที่เกิดยอดใหม่ จ้านวนยอดใหม่เฉลี่ยต่อชิ้นส่วน และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตดีที่สุด และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนพืชกับสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนตายอดมะนาวไม่รู้โห่ในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 7 ppm. มีความเหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากมีพัฒนาการของชิ้นส่วนอย่างรวดเร็ว โดยมีการเจริญเติบโตของต้นสูงที่สุด (1.23 เซนติเมตร) มี
จ้านวนวันที่เกิดยอดใหม่เร็วที่สุด (7 วัน) มีความสูงเฉลี่ยของยอดใหม่ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 1.18 เซนติเมตร และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ แต่มีจ้านวนยอดใหม่เฉลี่ยปานกลาง (3 ยอดต่อชิ้นส่วน) รองลงมา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนตายอดในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 3 ppm. มีจ้านวนยอดใหม่เฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 3.37 ยอดต่อชิ้นส่วน และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ และมีความสูงเฉลี่ยยอดใหม่ปานกลาง คือ 0.91 เซนติเมตร ในขณะที่การใช้ชิ้นส่วนตาข้างในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 ppm. ไม่แนะน้าให้ใช้ เนื่องจาก มีเปอร์เซ็นการรอดชีวิตน้อยที่สุด (40 เปอร์เซ็นต์) และไม่สามารถชักน้าให้เกิดยอดใหม่ได้
ค้าส้าคัญ มะนาวไม่รู้โห่ การขยายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ