งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92950
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92901
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92297

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของชนิดโปรตีนอุณหภูมิและอิมัลซิไฟเออร์ต่อความคงตัว ของกะทิคืนรูป
ผู้วิจัย ธัญญา ยมมา และ พักตร์จิรา วงศ์ทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89295 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

แนวโน้ม 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้ามะพร้าวแห้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมะพร้าวที่ผลิตในประเทศมีแนวโน้มลดลง ผู้ผลิตจึงต้องนำเข้าเนื้อมะพร้าวแช่แข็งจากต่างประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตน้ำกะทิคืนรูปจากองค์ประกอบที่มีอยู่ ได้แก่ น้ำ น้ำมันมะพร้าว โปรตีน และน้ำตาล โดยศึกษาผลของโปรตีน 2 ชนิดคือโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลือง รูปแบบการแปรรูป 3 ระดับ คือLow Temperature Long Time (LTLT, 63C นาน 30นาที) High Temperature Shot Time (HTST, 72C นาน 15 วินาที)และ Sterilize 121 C นาน 15 นาที และอิมัลซิไฟเออร์คือ PolyoxyethyleneSorbitanMonostearate(Tween 60) จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้านกายภาพ ได้แก่ การวัดค่าสี L*a*b* ค่าความหนืดและการแยกชั้นครีม พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติมโปรตีนนมมีค่าสี L* และ b*มากกว่าตัวอย่างควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) แต่ค่าสี b*น้อยกว่าตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลืองมีค่าความหนืดน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม คือ 89.29 89.71 และ 136.24 cPตามลำดับ ตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองเกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าโปรตีนนม การให้ความร้อนอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าสี L* ลดลง และค่า b*เพิ่มขึ้นในทุกๆตัวอย่าง เนื่องจากในกะทิคืนรูปมีส่วนผสมของน้ำตาลเมื่อได้รับความร้อนจึงเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ดและโปรตีนถั่วเหลืองมีสีครีม อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมกับโปรตีนถั่วเหลืองมีผลทำให้เกิดการแยกชั้นครีมเร็ว การเติมอิมัลซิไฟเออร์Tween 60 เป็นอิมัลซิไฟเออร์ที่มีค่า HLB =14.9 เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ พบว่าตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี L* แต่ค่าสี b* เพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 121C นาน 15 นาที ตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด ส่วนตัวอย่างที่เติม Tween 60 เกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าตัวอย่างที่ไม่เติม Tween 60



การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
ผู้วิจัย วงศ์สุดา พลเยี่ยม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88410 ครั้ง ดาวน์โหลด 63 ครั้ง

การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว                                        Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for                                                      Lentinus squarrosulus  Production                             โดย                       นางสาววงศ์สุดา พลเยี่ยม                                                        ชื่อปริญญา                      วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                      ปีการศึกษา                   2556                                                                             อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

               ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะ เวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดดีที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบ-ยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25%  ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลำดับ สำหรับจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 3.06 2.60 2.33 1.00 และ 1.00 ดอก/ถุง ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดขอนขาวสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 5 และกลุ่มทดลองที่ 4  โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 14.27 11.08 7.21 1.40 และ 1.27 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเฉลี่ยสูงที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง



ผลการใช้มันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารแม่โครีดนม
ผู้วิจัย จตุรพร ผิวจันทร์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88387 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง



ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด พันธุ์เทียนลาย 52
ผู้วิจัย ณัฐพงษ์ ชินทวัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88910 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด
พันธุ์เทียนลาย 52
Study of Split Chemical Fertilizer Application on Growth and Yield of Maize ( Zea mays cv.Tian-lai 52 )
โดย นายณัฐพงษ์ ชินทวัน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรและอัตราปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ทำการทดลองที่แปลงปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า พบว่าการใส่ปุ๋ยอัตรา16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด (แบ่งใส่ 4 ครั้ง) มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 35 61 81 114 และ 139 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 14 21 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ส่วนผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกของการใส่ปุ๋ยอัตรา 30.5-7.5-7.5 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 4ครั้ง) ให้ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงสุดคือ 1060 กิโลกรัมต่อไร่ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ในขณะที่ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดปอกเปลือก การใส่ปุ๋ยอัตรา 16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง)ให้ผลผลิตสูงสุด 682 กิโลกรัมต่อไร่และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05)


เข้าสู่ระบบ