งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92967
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92918
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92303

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท ด้วยการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์
ผู้วิจัย ทักษ์ดนัย ขันคำ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88363 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                       การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทด้วยการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์

          Prolonging of Storability of Bird Chilli (cv. Superhot) with       Hot Water Dip Combined with Packaging

โดย                         นายทักษ์ดนัย  ขันคำ

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2557

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.วิรญา  ครองยุติ

 

การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที เปรียบเทียบกับการจุ่มในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง (ชุดควบคุม) และบรรจุในถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) และถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีน ผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) และนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส จนหมดอายุการเก็บรักษา พบว่าพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุกที่ผ่านการจุ่มน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที ร่วมกับการบรรจุในถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เปอร์เซ็นต์การเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด    คือ 16 วัน แต่ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างวิธีการการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้ แต่ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าชุดควบคุม



อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของ ถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายมนต์ชัย แสงกล้า | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88443 ครั้ง ดาวน์โหลด 73 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรี่อง               อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่ม

                      เมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี  (cv. CP 4-2-3-1)

                      Organic and Chemical Fertilizers Rate on Growth and Yield of   

                       Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                 นายมนต์ชัย แสงกล้า

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา        2558

อาจารที่ปรึกษา   อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา    

 

การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลอง 1)  ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ที่ 4) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตถั่วพุ่มถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี เนื่องจากให้น้ำหนักมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ มากที่สุดคือ 818 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก 309 กิโลกรัมต่อไร่ และ 78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น และดัชนีการเก็บเกี่ยว มีค่าปานกลาง รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าดัชนีตัวชี้วัด น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มทดลองที่ 5 คือ 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ดปานกลางคือ 9 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝัก และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับกลุ่มทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มทดลองที่ 1) ยกเว้นค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ทุกกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ



ผลการใช้มันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารแม่โครีดนม
ผู้วิจัย จตุรพร ผิวจันทร์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88412 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของผักกวางตุ้ง
ผู้วิจัย อัครพล สมดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89452 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                        ของผักกวางตุ้ง

                              Study on Efficiency of Bio-Fertilizer on Growth and Yield of

                              Chinese Cabbage

 โดย                      นายอัครพล สมดี

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

               การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การใช้สารสกัดชีวภาพจากเศษปลา สารสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ สารสกัดชีวภาพจากเศษผัก และใช้น้ำธรรมดา เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งมากที่สุด และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.01) โดยมีความสูงเฉลี่ย 39.20 เซนติเมตร ความกว้างใบเฉลี่ย 13.40 เซนติเมตร ความยาวใบเฉลี่ย 31.30 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 20.43 กิโลกรัม รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษผักตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำธรรมดา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด 


เข้าสู่ระบบ