งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย วิภารัตน์ พิจารณ์ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88628 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบแคป่า โดยใช้ 95% เมทานอลเป็นตัวทำละลาย ผลผลิตร้อยละของสารสกัดแคป่าอยู่ที่ 29.52 ผลการศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ที่ 9.59±0.2362 mg GAE/g ของสารสกัดหยาบและปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดอยู่ที่ 5.04±0.20 mg QE/g ของสารสกัดหยาบ การศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH· และ reducing power ของสารสกัดจากใบแคป่า พบว่าสารสกัดแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ DPPH·โดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 168.50±1.17 mg/L ความสามารถในการรีดิวซ์พบว่า สารสกัดใบแคป่ามีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กและมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นที่ใช้ การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่า สารสกัดใบแคป่ายังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางตัวได้ไม่ดี แต่เชื่อว่าสารประกอบจากใบแคป่าน่าจะได้รับการพัฒนาเป็นยารักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้
คำสำคัญ : สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
Title Antioxidant Capacity and Antibacterial Activity of Against Some Selected Human Pathogenic Khae-Pa Leave Extracts
Authors Wipharat Phijan
Mathawee paisawang
Thanyarat Thammarot
Advisor Dr.Nualyai Yaraksa
Co-adviser Dr. wareerat sanmanoch
Degree Bachelor of Science (Chemistry)
Year 2015
ABSTRACT
The objectives of this research are to investigating the total phenolics content, total flavonoids content, antioxidant activity and antibacterial activity of leaves khae-pa extracts. The solvent used for extraction was methanol. The yields of crude extracts were 29.52 Total phenolics and total flavonoid contentswere 9.59±0.24 mg GAE/g crude extracts and 5.04±0.20 mg QE/g crude extracts, respectively. The antioxidant capacity of crude extracts was determined by using 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH·) and reducing power assay and antibacterial activity of crude extracts was test against some selected human pathogenic bacteria by using Agar well diffusion method. The result found that the crude extract showed antioxidant activity with IC50 168.50±1.17 mg/L for which DPPH assay. For the reducing capability of crude extracts with reducing power assay, it showed the reducing antioxidant activity and possessed concentration dependence.For antibacterial activity determination, the crude extracts could not inhibit all test bacteria.
Keyword : Total phenolic, Total flavonoids, Antioxidant activity and Antibacterial
activity
ผู้วิจัย ณัฐวุฒิ กรงาม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88887 ครั้ง ดาวน์โหลด 33 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
Concentration of Sulfuric Acid on Dormancy Breaking of
Traveller’s Palm Seed
โดย นายณัฐวุฒิ กรงาม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบ 3X5 Factorial in Completely Randomized Design ประกอบด้วย 15 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 2 ซ้าๆ ละ 50 เมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม เป็นระยะเวลา 30 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 6 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 70 เปอร์เซ็นต์ อัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้ารวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตายเท่ากับ 13 และ 17% ตามลาดับ ในขณะที่ความยาวราก ความสูงต้นกล้า และความสูงต้นกล้ารวมรากเฉลี่ย มีค่าปานกลาง คือ 4.55 4.45 และ 8.95 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมา คือ การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 8 นาที มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เปอร์เซ็นต์การงอก เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายเฉลี่ยปานกลาง คือ มีค่าเท่ากับ 61 9 และ 30% ตามลาดับ ความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้นกล้ารวมราก ไม่แตกต่างทางสถิติกับการแช่กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 6 นาที คือ มีค่าเท่ากับ 4.70 และ 9.40 เซนติเมตร ส่วนความยาวรากเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.70 เซนติเมตร สาหรับความเข้มข้นและระยะเวลาในการแช่กรดซัลฟิวริกในการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่ไม่แนะนาให้ใช้ คือ กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 50% นาน 2 นาที เนื่องจากไม่เกิดการงอกของเมล็ดตลอดระยะเวลาทาการทดลอง
คาสาคัญ เมล็ดกล้วยพัด กรดซัลฟิวริก การทาลายการพักตัว
ผู้วิจัย นิตยา พรมบู่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90753 ครั้ง ดาวน์โหลด 158 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ
Cultivation ofHypsizygus marmoreus (Peck)in Different
Substrates
โดย นางสาวนิตยา พรมบู่
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ
5 ตะกร้า โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟางข้าว (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ต้นกล้วยสับ กลุ่มทดลองที่ 3 หญ้าคา และกลุ่มทดลองที่ 4 หญ้าแฝก พบว่า การใช้ฟางข้าว มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด คือ 16.40 วัน รองลงมาได้แก่ การใช้หญ้าแฝก หญ้าคา และต้นกล้วยสับ มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 18.83 และ 20.00 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า การใช้ต้นกล้วยสับมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.56 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าคา และหญ้าแฝก มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 26.40 14.43 และ 14.43 ดอกต่อตะกร้า ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ต้นกล้วยสับมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 53.66 กรัมต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าแฝกและหญ้าคา มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 50.00 29.00 และ 26.33 กรัมต่อตะกร้า ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดโคนน้อยทดแทนฟางข้าว คือ ต้นกล้วยสับเนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด ถึงแม้จะใช้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดแต่ถือว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
คำสำคัญ เห็ดโคนน้อย ฟางข้าว ต้นกล้วย และผลผลิต
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88824 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง
ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%