งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92937
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92289

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงและสารสกัดจากธรรมชาติในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
ผู้วิจัย พวงผกา อ่างมณี | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 91203 ครั้ง ดาวน์โหลด 68 ครั้ง

การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แป้งในน้อยหน่า ซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำมาก่อน ทำการทดลอง 4 แปลงทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – เดือนกันยายน 2553 ที่แปลงเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2551 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP) และ white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม และ 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ในปี 2552 และ 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25% WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 กรัม + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ การพ่นไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ทั้งสี่แปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้น ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารสามารถลดปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ โดยหลังการพ่นสารพบจำนวนเพลี้ยแป้งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ส่วนกรรมวิธีการพ่น white oil (Vite oil 67% EC) มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้ปานกลาง ขณะที่ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลไม่ชัดเจนในปี 2553 และจากการเก็บผลน้อยหน่าที่พ่นไส้เดือนฝอยมาตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบ ไส้เดือนฝอยจากเพลี้ยแป้งที่ตายในกรรมวิธีดังกล่าว การตรวจการเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหยวก
ผู้วิจัย พิพัฒน์ ประกอบศรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 87699 ครั้ง ดาวน์โหลด 28 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการ
                            เจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหยวก

                             Comparison of Organic and Chemical Fertilizer Efficiency on Growth
                             and Yield of Capsicum annuum Linn.

โดย                      นายพิพัฒน์ ประกอบศรี

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์พิพัฒน์ ประกอบศรี

                 งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหยวก วางแผนการทดลองแบบRandomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ 2 การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 51.31 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 49.41 เซนติเมตร จำนวนผลผลิตเฉลี่ย/ต้น สูงที่สุด คือ 51 ผล/ต้น น้ำหนักผลผลิต/ต้น เฉลี่ยสูงที่สุด คือ 2.01 กิโลกรัม/ต้น และการคัดเกรด ให้ผลผลิตเกรด A เฉลี่ยสูงที่สุด คือ 66.43 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์แห้งของพริกหยวกเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงที่สุด คือ 7.87เปอร์เซ็นต์ ส่วนเปอร์เซ็นต์ความชื้น มีแนวโน้มน้อยที่สุด คือ 92.13เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยมูลโคหรือมูลค้างคาว ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ



อัตราปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายสิทธิศานต์ หาเนาสุข | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88632 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                  อัตราปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำ 

                       อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)

                          Chemical Fertilizer and Lime Rates on Growth and Yield of        

                          Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                  นายสิทธิศานต์   หาเนาสุข

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์โดม  หาญพิชิตวิทยา

  

    ศึกษาอัตราของปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลองดังนี้ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย 2. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่     3. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 4. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 5. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าการใส่ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุด ต้นถั่วพุ่มดูดสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจาก       มีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักผลผลิตเมล็ดรวมเฉลี่ยมากที่สุดคือ 64 เซนติเมตร 795 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝักและ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีค่าดัชนีตัวชี้วัดทุกค่าปานกลาง นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยในทุกกลุ่มทดลองให้ค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างชัดเจน ยกเว้น ค่าเปอร์เซ็นต์การกะเทาะและดัชนีการเก็บเกี่ยวที่มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอยู่ระหว่าง 72-78 เปอร์เซ็นต์ และ 0.36-0.38 ตามลำดับ ดังนั้นการใส่ปูนขาวในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมการปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์



ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก
ผู้วิจัย อโนชา ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89362 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ

หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก

Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating   Substances on Postharvest Quality  of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Ripe Stage

โดย                              นายอโนชา  ธุรี

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.วิรญา  ครองยุติ

 

   การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ   เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55˚C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด ลดเปอร์เซ็นต์การเสียหาย และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท และยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าการใช้วิธีการเดียว


เข้าสู่ระบบ