งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92930
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92287

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย อุไรวรรณ กำเนิดสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89507 ครั้ง ดาวน์โหลด 78 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล

                                     Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for

                                     Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamo) Production

โดย                             นางสาวอุไรวรรณ กำเนิดสิงห์

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา               2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

 

               ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ             ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่ากลุ่มทดลองที่มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ ขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% การใช้      ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขุยมะพร้าว 100% และการใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเท่ากับ 25.00 19.06 17.93 15.86 และ 15 วัน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มทดลองที่มีจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25 ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 6.95 6.19 3.53 3.13  และ 2.51 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับกลุ่มทดลองที่ให้น้ำหนักสดเฉลี่ยของเห็ดนางนวลสูงที่สุดคือ  ขี้เลื่อย 75%       ขุยมะพร้าว 25% รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ ขี้เลื่อย 50%  ขุยมะพร้าว 50% การใช้  ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีน้ำหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 24.83 19.39 16.1814.68  และ13.48 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการใช้ ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทน ขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล ควรใช้ในอัตราส่วนขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็นนางนวลได้ดีที่สุด เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดน้อยที่สุด ให้จำนวนดอกเฉลี่ยรองลงมาจากขี้เลื่อย และยังให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด 



ผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88807 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง

ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%



การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย นางสาวรุจิรา วันบัวแดง | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87594 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง

Using Chopped Leucaena Branch to Substitute Sawdust for

Spilt Gill Mushroom (Schizophylum commune) Production

โดยนางสาวรุจิรา    วันบัวแดง

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2558

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ดร.เสกสรร  ชินวัง

 

ศึกษาการทดลองใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครงวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100%กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25%กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% กิ่งกระถินสับ 50%กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% กิ่งกระถินสับ 75%กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งกระถินสับ 100%พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเท่ากับขี้เลื่อย 100% คือ 15.1 วัน ซึ่งนานกว่าวัสดุเพาะชนิดอื่นๆ แต่มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 66.3 ดอก/ถุง และไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดปานกลาง (4.8 กรัม/ถุง) ซึ่งรองจากขี้เลื่อย 100% ดังนั้น การใช้ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% จึงเหมาะที่จะใช้ทดแทนขี้เลื่อย 100% นอกจากนี้ พบว่า การใช้อัตราส่วนของกิ่งกระถินสับเพิ่มมากขึ้นในวัสดุเพาะ ถึงแม้จะมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วขึ้น แต่จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง



ผลของการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ของโครีดนม
ผู้วิจัย นายกฤษฎา พาดำเนิน และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88508 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพราะรูเมนสำหรับโครีดนม โดยใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเอ็ดเม็ดผสมในสูตรอาหารข้นที่ระดับ 0, 25, 50, 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใช้โครีดนมลูกผสมพันธุ์โฮสไตน์ฟรีเชี่ยนจำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน (4x4 Latin Square Design, LSD) ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ของอาหารข้น ปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบ ปริมาณการกินได้ทั้งหมด อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่เมื่อเพิ่มระดับการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นทำให้ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ที่เวลา 4 ชั่วโมง หลังการให้อาหาร และมีค่าสูงสุดเมื่อใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น 75 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่ระดับมากขึ้น อาจมีแนวโน้มทำให้ปริมาณการกินได้ลดน้อยลง ดังนั้น การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่เหมาะสมคือที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โคมีปริมาณการกินได้ดีที่สุด

 

คำสำคัญ: ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ด, อาหารข้น, โครีดนม, ปริมาณการกินได้, กระบวนการหมักในกระเพาะ

              รูเมน

 

Abstract

 

This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet on feed intake  and rumen fermentation of lactating dairy cows. Four,Holstein-Friesian cross bred cows were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design, to received oil palm fronds pellet in concentrate at 0, 25, 50 and 75%, respectively. It was found that concentrate intake, roughage intake, total dry matter intake, ruminal temperature, and ruminal pH were not significantly different among treatment (P<0.05). While, rumen ammonia-nitrogen (NH3-N) at 4 hours post feeding was increased when increasing level of oil palm fronds pellet in concentrate, which was highest in cow feed with 75% oil palm fronds pellet in concentrate (P<0.05) .Furthermore, increasing level of oil palm fronds pelletin concentrate resulted in a decrease dry matter intake. In conclusion, level of oil palm fronds pellet in concentrate for lactating dairy cows should not exceed 50%.

 

Key words:oil palm fronds pellet, concentrate, lactating dairy cows, feed intake, rumen     

                 fermentation


เข้าสู่ระบบ