งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ฐิติรัตน์ โกกะพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88614 ครั้ง ดาวน์โหลด 51 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Bitter Melon (Momordica charantia Linn.)
โดย นางสาวฐิติรัตน์ โกกะพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 20 ต้น โดยใช้ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับมูลโค มูลไก่ มูลสุกร และ มูลค้างคาว ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ 3 คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 201.09 เซนติเมตร จานวนดอกที่ติดผลเท่ากับ 40.07 ดอกต่อต้น จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ยเท่ากับ 37.34 ผลต่อต้น น้าหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 23.3 กิโลกรัมต่อต้น ความยาวผลสดเฉลี่ยคือ 22.21 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ผลผลิตเกรด A มากที่สุดคือ 40.20% รองลงมาคือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลสุกร (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) และที่ไม่แนะนาให้ใช้คือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลค้างคาว (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) เนื่องจาก ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ย น้าหนักสดเฉลี่ย ความยาวผลสดเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 120.53 เซนติเมตร 35.67 ดอกต่อต้น 31.33 ผลต่อต้น 17.80 กิโลกรัมต่อต้น และ 16.65 เซนติเมตร ตามลาดับ และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.01)
คาสาคัญ มะระจีน ปุ๋ยเคมี มูลโค มูลไก่ มูลสุกร มูลค้างคาว
ผู้วิจัย นริศรา ชาวนา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88833 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง
เรื่อง ผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำจากแหนแดงต่อผลผลิตของผักขึ้นฉ่าย
Effect of Chitosan and Azolla Aqueous Fertilizer on
Chinese Celery Yield
โดย นางสาวนริศรา ชาวนา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของสารไคโตซานและปุ๋ยน้ำแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ3 ซ้ำ ได้แก่ การใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรการใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง อัตรา 1:100 การใช้ปุ๋ยเกร็ดเคมีสูตร 25-5-5 อัตรา 50กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรและการใช้น้ำเปล่า หลังจากเก็บข้อมูลก่อนใช้สารและหลังใช้สารทุกๆ 7 วัน พบว่าการใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีน้ำหนักผลผลิตสดต่อแปลง และต่อต้น รวมถึงจำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยมากที่สุด คือ 7.9 กิโลกรัมต่อแปลง 320 กรัมต่อต้น และ 18.4 ต้นต่อกอ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น มีค่าปานกลาง คือ 20.41 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยเกร็ดเคมีตราทุ่งเศรษฐี ในขณะที่การใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง มีค่าปานกลางในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช้สาร
ผู้วิจัย อุดมกรณ์ ไพรบึง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88670 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
การศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น นํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกและปอกเปลือก นํ้าหนักลำต้นและความยาวฝักมากที่สุด คือ มีค่าเท่ากับ 177 ซม. 1993 กก./ไร่ 1325 กก./ไร่ 2868 กก./ไร่ และ 17 ซม. ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำมาคัดเกรดฝักข้าวโพดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร พบว่า ข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 ที่ได้รับปุ๋ยทุกกลุ่มทดลอง ผลผลิตจัดอยู่ในเกรด B ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ผลผลิตฝักข้าวโพดจัดอยู่ในกลุ่ม C และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P = 0.01)
ผู้วิจัย อโนชา ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89355 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ
หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก
Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating Substances on Postharvest Quality of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Ripe Stage
โดย นายอโนชา ธุรี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55˚C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด ลดเปอร์เซ็นต์การเสียหาย และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท และยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าการใช้วิธีการเดียว