งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92913
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92860
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92276

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88725 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์             ซุปเปอร์ฮอท2
                            Effect of  Wild Spikenard Bush-Tea  Extracted on Growth and Yield of                        Super-Hot 2 Bird Chilli

โดย                  นายธีระโชติ  ขูลีลัง

ชื่อปริญญา       วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร  น้อยทรง

 

ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด

(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา

 



ผลของการเสริมสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในสารละลายเจือจาง น้าเชื้อสดโค
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88321 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil



ผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของแตงกวาลูกผสมไมโครซี 306
ผู้วิจัย นางสาวจตุพร บุญเลิศ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88570 ครั้ง ดาวน์โหลด 53 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                 ผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวา  ลูกผสม ไมโครซี 306

Effects of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of  Hybrid Cucumber Micro C 306

โดย                  นางสาวจตุพร  บุญเลิศ

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2558

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ประภัสสร   สมบัติศรี

 

ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวาลูกผสม ไมโครซี 306 โดยวางแผนทดลองแบบ Randomized Complete Block Design  (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ใช้แปลงปลูกขนาด 1x10 เมตร จำนวน 12 แปลงๆ ละ 16 ต้น ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลโค 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อแปลง  น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อไร่  มากที่สุด และให้ผลผลิตเกรด A มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง เท่ากับ 18.65 เซนติเมตร 11.67 เซนติเมตร 100.81 กรัมต่อผล 4.85 กิโลกรัมต่อแปลง 775.33 กิโลกรัมต่อไร่ และ 2.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อแปลง  น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 12.13 เซนติเมตร 11.08 เซนติเมตร 96.28 กรัมต่อผล 4.63 กิโลกรัมต่อแปลง และ 740.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และให้ผลผลิตเกรด A มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 27.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เพียงอย่างเดียว ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกแตงกวาลูกผสมไมโครซี 306 เนื่องจากมีแนวโน้ม ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล และให้ผลผลิตเกรด A น้อยที่สุด คือ 14.87 เซนติเมตร 9.14 เซนติเมตร และ 1.63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นในการปลูกแตงกวาพันธุ์ลูกผสมไมโครซี 306 แนะนำให้ใช้ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร หรือปุ๋ยมูลไก่



ผลของการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณน้้านมและองค์ประกอบทางเคมีของน้้านมในโครีดนม
ผู้วิจัย นายธนพล สีสุภา และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87654 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดที่ระดับ 0, 25, 50 , และ75 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณน้้านมและองค์ประกอบทางเคมีของน้้านมในโครีดนมที่ โดยใช้โครีดนมพันธุ์โฮสไตล์ฟรีเชี่ยนเพศเมีย จ้านวน 4 ตัว มีน้้าหนักเฉลี่ย 400 ± 500 กก. จัดโคเข้าทดลองตามแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน ให้โคได้รับอาหารข้นในอัตราส่วนอาหารข้นต่อปริมาณน้้านม 1:2 และใช้ฟางข้าวหมักยูเรีย (5% ยูเรีย) เป็นอาหารหยาบโดยให้กินแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นส้าหรับโคนรีดนมท้าให้ปริมาณน้้านม และองค์ประกอบทางเคมีของน้้านม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้้า ของแข็งที่ไม่รวมไขมัน ความหนาแน่นของน้้านม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่การใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดที่ 25 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารข้นมีแนวโน้มท้าให้โคนมมีปริมาณน้้านมสูง
ค้าส้าคัญ: ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ด, ปริมาณน้้านม, องค์ประกอบทางเคมีของน้้านม, โครีดนม
ABSTRACT
This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet at 0, 25, 50 and 75% in concentrate on milk yield and milk composition in lactating dairy cows. Four, Holstein-Friesian cross bred cows with 400 + 500 kg body weight, were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design. Cows were fed concentrate, at a ratio of concentrate to milk yield of 1:2, and urea treated rice straw (5% urea) were used as a roughage source ad libitum. The results showed that feeding cows with oil palm fronds pellet has no effect on milk yield and milk composition in term of protein, fat, water, solids not fat and density (P> 0.05). However, using oil palm fronds pellet at 25% in concentrate tend to increased milk yield.
Keywords: oil palm fronds pellet, milk yield, milk composition, lactating dairy cows


เข้าสู่ระบบ