งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88738 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์             ซุปเปอร์ฮอท2
                            Effect of  Wild Spikenard Bush-Tea  Extracted on Growth and Yield of                        Super-Hot 2 Bird Chilli

โดย                  นายธีระโชติ  ขูลีลัง

ชื่อปริญญา       วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร  น้อยทรง

 

ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด

(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา

 



การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มะเขือเทศพันธุ์สีดา
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89260 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง

ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม



ผลของการใช้กากปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และย่อยได้ในโครีดนม
ผู้วิจัย จักรพรรดิ อมรสินและคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88834 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง



ผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว พื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง
ผู้วิจัย ยุทธิชัย มาลาสาย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87917 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
พื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง
Effects of Chitin-Chitosan from Animal Shells on Growth and Yield of
Indigenous Hawm Thung Rice
โดย นายยุทธิชัย มาลาสาย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ สารไคโตซานจากเปลือกปู กุ้ง และหอย เปรียบเทียบกับสารไคโตซานจากท้องตลาด (Bio proroots) และปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทั้งหมด 5 กลุ่มทดลอง จานวน 5 ซ้า ซ้าละ 10 กระถาง ผลการทดลองพบว่า การฉีดพ่นสารไคโตซานจากเปลือกปู ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตสูงกว่ากลุ่มทดลองที่เป็นสารไคโตซานจากเปลือกลาตัวสัตว์อื่นๆ และปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวมากที่สุดคือ 97.30 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 13 ต้น/กอ มีจานวนรวงต่อกอ 10.60 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 136.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 75.40 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 26.30 เปอร์เซ็นต์ และมีน้าหนักเมล็ดดี 328.25 กรัม ตามลาดับ รองลงมาคือ การฉีดพ่นสารไคโตซานจากท้องตลาด มีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวคือ 89.80 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 12.50 ต้น/กอ จานวนรวงต่อกอ 9.90 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 118.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 77.50 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 22.70 เปอร์เซ็นต์ และน้าหนักเมล็ดดี 262.60 กรัม ผลที่ได้จากการทดลอง พบว่า การใช้สารไคโต-ซานจากเปลือกปูมีแนวโน้มทาให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งดีมากที่สุด
คาสาคัญ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ไคโตซาน ผลผลิต การเจริญเติบโต


เข้าสู่ระบบ