งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92939
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92879
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92294

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้ข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย สุธิดา วิชาพูล | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88854 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

การใช้ข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า

                             Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for

                             Oyster    Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production                          

โดย                      นางสาวสุธิดา     วิชาพูล

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

                  ศึกษาการใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดนานที่สุด คือ ในกลุ่มทดลองที่ 5  (ลำต้นข้าวโพดสับ 100%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4(ขี้เลื่อย 25% ลำต้นข้าวโพดสับ 75%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ลำต้นข้าวโพดสับ 50%)  กลุ่มทดลองที่ 1(ขี้เลื่อย 100%) และ กลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ลำต้นข้าวโพดสับ 25%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 28.93  22.9  22.06  21.53 และ 19.20 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2  มีจำนวนดอกเฉลี่ย 5.69 ดอก/ถุง รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่คือ 4.28  4.18 4.16 และ 3.54 ดอก/ถุง   ตามลำดับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้าสูงสุด คือ  กลุ่มทดลองที่ 2 ผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 46.20 กรัม/ถุง รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 5 กลุ่มทดลองที่ 3  กลุ่มทดลองที่ 1 และ กลุ่มทดลองที่ 4 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36.40 35.13  33.11 และ 32.26  กรัม/ถุง   ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า คือการใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 25% ผสม ขี้เลื่อย 75% สามารถชักนำให้มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด ให้จำนวนดอกและน้ำหนักสดเฉลี่ยมากที่สุด สามารถลดต้นทุนได้

 



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน
ผู้วิจัย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89295 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                      การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน

                             Efficacy  of  Plant  Extracts  for Aphids  Control

โดย                       นางสาวธีระวัลย์     วงมาเกษ

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา              2558

อาจารย์ที่ปรึกษา       อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

             ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  วางแผนการทดลองแบบ  3×3 Factorial+1 in Completely Randomized Design  (CRD) โดยใช้ความเข้มข้น  5   10 และ 15  เปอร์เซ็นต์  ที่เวลา 24  48 และ 72 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับ  Ethyl  alcohol 50%  เป็นชุดควบคุม  พบว่า  สารสกัดจากใบดาวเรืองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ 48   ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของเพลี้ยอ่อนมากที่สุด  คือ  88.89 เปอร์เซ็นต์  และมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  และสารสกัดจากใบแมงลักคา   ตามลำดับ  ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดจากพืชที่เหมาะสมที่สุด คือ  15  เปอร์เซ็นต์  ที่ 48 ชั่วโมง  มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย  98.33 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่      10 เปอร์เซ็นต์  และ  5 เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับ   และเมื่อตรวจสอบระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษ  (LC50 และ LT50)    พบว่า   สารสกัดจากใบดาวเรืองมีค่าน้อยที่สุด   ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษมากที่สุด  ดังนั้น  หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  แนะนำให้ใช้สารสกัดจากใบดาวเรือง  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ 15 เปอร์เซ็นต์  ภายใน  48   ชั่วโมง  สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนตาย  ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ  15  เปอร์เซ็นต์  ในขณะที่สารสกัดจากใบแมงลักคาทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด



การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว
ผู้วิจัย จิราภรณ์ สำราญสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89321 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว

        Dormancy Breaking of Spring Bitter Cucumber Seed

โดย                                      นางสาวจิราภรณ์  สำราญสุข

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

    ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD)  ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 20 เมล็ด เป็นระยะเวลา 46 วัน ผลการทดลอง พบว่า การกะเทาะเปลือกทั้งหมดและการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.01) คือ 82.5 และ 71.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่การกะเทาะเปลือกแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุดคือ 10 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเมล็ดสดไม่งอกปานกลาง และไม่มีต้นอ่อนผิดปกติ รองลงมาคือ การกะเทาะเปลือกทั้งหมด การนำเมล็ดมาแช่ในสารละลายโปแตสเซียมไนเตรท   0.2% นาน 24 ชั่วโมง การนำเมล็ดแช่น้ำกลั่น 168 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวไม่ทำลายการพักตัว (Control) และเมล็ดแช่ในกรดซัลฟูริกเข้มข้นนาน 4 นาที ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดฟักข้าวแช่ในน้ำอุ่น 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และเมล็ดฟักข้าวแช่ในสารละลายเอทธิฟอน 0.5%         24 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวเกิดการตายทั้งหมดเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกร คือวิธีการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่น้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง

 



ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
ผู้วิจัย พิสิฐ ศรีวะวงค์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89306 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

หอมแบ่งพันธุ์ลับแล

Efficiency of Bio-compost Liquid Produced from Golden Apple Snail

on Multiply Onion Production

โดย    นายพิสิฐ  ศรีวะวงค์

ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

 

ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล ที่ระยะเวลา 45วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ (control)กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:250กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:500กลุ่มทดลองที่ 4 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:1,000 และกลุ่มทดลองที่ 5 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:2,000พบว่า หอมแบ่งพันธุ์ลับแลที่ปลูกร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่อัตรา 1:1,000 มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูง ความยาวราก การแตกกอ และน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด คือ 34.4 ซม.7.26 ซม.4.26 กอ และ2.16กก.ตามลำดับรองลงมาคือ การใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 1:500 1:2,000และ 1:250 ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำที่สุด

 


เข้าสู่ระบบ