งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92937
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92289

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
ผู้วิจัย ปิยะพร ทองจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88745 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of Bottle Gourd White Baron
โดย นางสาวปิยะพร ทองจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลอง
แบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้่าๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลสุกร และ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จ่านวนใบเฉลี่ย น้่าหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อแปลง และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลงมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 15.24 กิโลกรัมต่อแปลง และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้มีแนวโน้มให้ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุดคือ 5.52 เซนติเมตร และ 48. 80 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ มีความสูงเฉลี่ย 22.29 เซนติเมตร จ่านวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 5.12 กิโลกรัมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลง 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.45 เซนติเมตร
ค่าส่าคัญ กะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยโบกาฉิ ปุ๋ยน้่าหมักอินทรีย์



ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก
ผู้วิจัย อโนชา ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89362 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ

หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก

Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating   Substances on Postharvest Quality  of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Ripe Stage

โดย                              นายอโนชา  ธุรี

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.วิรญา  ครองยุติ

 

   การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ   เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55˚C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด ลดเปอร์เซ็นต์การเสียหาย และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท และยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าการใช้วิธีการเดียว



ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู ในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89032 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effect of Cytokinins and Auxins on Growth of Curcuma sp. Roxb in
vitro.
โดย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพูในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 7×4 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) มีปัจจัย A ได้แก่ a1=0 mg/l, a2=1 mg/l, a3=2 mg/l, a4=3 mg/l, a5=4 mg/l, a6=5 mg/l และ a7=6 mg/l และปัจจัย B ได้แก่ b1=0 mg/l, b2=0.05 mg/l, b3=0.5 mg/l และ b4=1 mg/l รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลองๆ ละ 10 ซ้าๆ ละ 1 ขวด พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกระเจียวสีชมพูและสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l เนื้อเยื่อมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ต้นกล้ามีความสูงเฉลี่ยของต้น และจานวนยอด/หน่อ เฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.30 เซนติเมตร และ 0.20 ยอด ตามลาดับ รองลงมาคือ สูตร MS ที่เติม BA 5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.05 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น คือ 1.20 เซนติเมตร
คำสำคัญ ไซโตไคนิน ออกซิน กระเจียวสีชมพู สภาพปลอดเชื้อ



ผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียว กวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
ผู้วิจัย เมธาวรรณ ถันทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89616 ครั้ง ดาวน์โหลด 102 ครั้ง

ผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียว

กวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์

Effects of Chitosan on Growth and Yield of Chinese Cabbage-PAI

TSAI in Hydroponics System

โดย                        นางสาวเมธาวรรณ ถันทอง

ชื่อปริญญา     วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา  2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

            ศึกษาผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 6 ซ้ำๆละ 25 ต้น  รวมจำนวนหน่วยทดลองทั้งหมด 36 หน่วยทดลอง  เป็นระยะเวลา 35 วัน ผลการทดลอง พบว่าการพ่นสารไคโตซานความเข้มข้น 0.08% มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดเขียวกวางตุ้งเพิ่มขึ้น ต่างจากชุดควบคุมที่ใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวรากจำนวนใบและน้ำหนักสดต้น  รองลงมาคือ การใช้สารไคโตซานความเข้มข้น 0.06%ไม่พ่นสารไคโตซาน พ่นสารไคโตซานความเข้มข้น 0.04%  0.02% และ 0.01% ตามลำดับดังนั้น ระดับความเข้มข้นสารไคโตซานที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้ง คือ ไคโตซานความเข้มข้น 0.08%

 


เข้าสู่ระบบ