งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92937
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92289

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
ผู้วิจัย ศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89623 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

เรื่อง                         การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด

         Dormancy Breaking of Traveller\'s Palm Seed

โดย                                      นายศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 25 เมล็ด  เป็นระยะเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่าการแช่เมล็ดในกรดซัลฟิวริก 98เปอร์เซ็นต์ นาน 4 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมล็ดมีอัตราในการงอกเร็วที่สุด 7 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 75 เปอร์เซ็นต์และมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) ปานกลาง ในขณะที่เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตาย มีค่าน้อยที่สุด รองลงมา ได้แก่ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน การแช่เมล็ดในน้ำอุ่น50 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที และ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน ตามลำดับ ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่เหมาะสมที่สุด และเป็นอันตรายน้อยที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกรใช้ คือ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน

 



การย่อยได้ของใบตองหมักกากน้ำตาลโดยใช้เทคนิคถุงไนล่อน
ผู้วิจัย ชินวัฒน์ ชูรัตน์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88621 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของ มะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
ผู้วิจัย สมศักดิ์ ชอบด่านกลาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88302 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของ     มะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
                              Comparison of Growth Regulators Efficiency on Quality of Tomato                          Fruit  var. Seeda ‘phedchompoo F1

โดย                       นายสมศักดิ์ ชอบด่านกลาง

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

    งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1 และ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของชนิดสารควบคุมการเจริญเติบโตจากธรรมชาติที่สามารถใช้ทดแทนสารควบคุมการเจริญเติบโตสังเคราะห์ ในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใช้ไคตซาน มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด (57.26 ซม.) มีน้ำหนักผลเฉลี่ย ขนาดของผลและความแน่นเนื้อ มากที่สุด คือ 19.05 กรัม 37.1 มิลลิเมตร และ 2.89 กก./ตร.ซม. และผลผลิตที่ได้จะมีขนาด 36 ถึง 40 มิลลิเมตร. (รหัสขนาด 2) ส่วนจำนวนผลผลิตและน้ำหนักผลผลิตรวมอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักผลไม้ น้ำส้มควันไม้ และสปีดเวย์ ตามลำดับ ดังนั้นการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 ที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน และเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโตในทุกกลุ่มทดลองให้ผลดีกว่าในการปลูกมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 



ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
ผู้วิจัย ศรายุทธ สาราญ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88512 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of
Suphan Buri 1 Rice
โดย นายศรายุทธ สาราญ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 โดยทาการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยและน้าหนักเมล็ดดี 100 เมล็ดมากที่สุดคือ 93 เซนติเมตร 11.3 รวงต่อต้น 23.00 กรัมต่อต้น และ 3.67 กรัม ตามลาดับ ในขณะเดียวกันก็มี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33.0 เปอร์เซ็นต์ และมีดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 0.51 รองลงมา ได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% อัตรา 1:100 ทุกๆ 14 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยว ปานกลางคือ 91 เซนติเมตร 10.7 รวงต่อต้น 35.0 เปอร์เซ็นต์ 21.00 กรัมต่อต้น และ 0.51 ตามลาดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง แต่ในระยะยาวจะทาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืน
คาสาคัญ ข้าว สุพรรณบุรี 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ


ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก


เข้าสู่ระบบ