งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
4069
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
4045
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
3361

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
551
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
345
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
340

การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย เฉลิมศักดิ์ ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 119 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                             การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and

Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2) : A Case Study of

Nam Yuen District, Ubon RatchathaniProvince

โดย                                        นายเฉลิมศักดิ์  ธุรี

ชื่อปริญญา                          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา            อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา

 

งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ และ 5) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของงามากที่สุด คือ 4.8  8.2  20.6  30.6  42.8 และ 63.4 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดที่ 10  20  30  40 50 และ 60 วันหลังปลูก และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีความสูงเฉลี่ยของงาน้อยที่สุด ส่วนน้ำหนักแห้งทั้งหมด น้ำหนักเมล็ดงา และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว พบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีค่าสูงที่สุดคือ 2,773 กิโลกรัมต่อไร่ 315 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.114 ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01)

คำสำคัญ   งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยคอก (มูลวัว)



ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน
ผู้วิจัย นางสาวพิมพ์จันทร์ กุลพันธ์ และ นางสาวมุทิตา นามทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 1470 ครั้ง ดาวน์โหลด 105 ครั้ง

หัวข้อปัญหาพิเศษ      การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน

นักศึกษา                 นางสาวพิมพ์จันทร์  กุลพันธ์

                          นางสาวมุทิตา  นามทอง

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์นิราศ  กิ่งวาที

 

การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน (Hot air oven) โดยนำลูกตาลสุกมาสกัดเอาเนื้อตาล แล้วนำเนื้อลูกตาลสุกที่ได้ไปทำแห้งด้วยวิธีการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 60 และ 65 องศาเซลเซียส วัดค่าความชื้นทุก 2 ชั่วโมง พบว่า การทำแห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60    องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 6 ชั่วโมง และที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 4 ชั่วโมง ให้ค่าความชื้นใกล้เคียงกัน เท่ากับ 2.20 2.17 และ 2.16 ตามลำดับ ดังนั้นจึงทำตาลผงที่สภาวะดังกล่าวทั้ง 3 สภาวะ นำมาวิเคราะห์ค่าสี ความสามารถในการละลาย และทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส พบว่า การทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เป็นอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ได้ตาลผงที่ค่าสี L* a* และb* มีค่าเท่ากับ 73.397.12และ 29.98 ตามลำดับ มีค่าความชื้นร้อยละ2.17 และความสามารถในการละลายดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 15.71เมื่อนำตาลผงที่ได้จากการทำแห้งมาทำผลิตภัณฑ์ขนมตาลเพื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ขนมตาลจากเนื้อตาลสด นำมาทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสคุณลักษณะด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม พบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมตาลที่ทำจากตาลผงทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6 ชั่วโมง มีความชอบรวมของผู้บริโภคสูงที่สุด

 

 



ผลของชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของ ผักกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
ผู้วิจัย นายประพันธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 549 ครั้ง ดาวน์โหลด 40 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                       ผลของชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกวางตุ้งโชว์จีน ที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์

                               Effect of Packaging on Postharvest Quality of Chinese Cabbage-           

                               PAI TSAI (Brassica pekinensis L.) in HydroponicsSystem

โดย                         นายประพันธ์  ทิมา

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2558

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร. วิรญา  ครองยุติ

 

   การศึกษาผลของชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยนำผักกวางตุ้งโชว์จีนที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 35 วัน มาบรรจุในบรรจุภัณฑ์    ชนิดต่างๆ ได้แก่ ถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) เจาะ 2 รู ถุงพลาสติก          โพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) ไม่เจาะรู  ถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิดเจาะ 2 รู และเปรียบเทียบกับถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีนไม่เจาะรู (ชุดควบคุม)     เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90 เปอร์เซ็นต์ ทำการวิเคราะห์ผลทุกๆ วัน           จนหมดอายุการเก็บรักษา โดยวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีใบ คะแนนการเปลี่ยนแปลงสภาพภายนอก ปริมาณวิตามินซี ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวม และอายุการเก็บรักษา ซึ่งผลที่ได้พบว่าผักกวางตุ้งโชว์จีนที่บรรจุในถุงพลาสติกชนิด PE ผสมสารเติมแต่งบางชนิด ไม่เจาะรู สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด      ปริมาณวิตามินซี ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด  และมีคะแนนสภาพภายนอกทีดี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอายุการเก็บรักษา พบว่าผักกวางตุ้งโชว์จีนที่บรรจุในถุง PE ผสมสารเติมแต่งบางชนิด ไม่เจาะรู สามารถเก็บรักษาได้ 15 วัน ซึ่งให้ค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับชุดควบคุมที่มีอายุการเก็บรักษา 14.33 วัน นั่นคือ การบรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ไม่มีผลในการยืดอายุการเก็บรักษาผักกวางตุ้งโชว์จีน



การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
ผู้วิจัย ศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 239 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

เรื่อง                         การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด

         Dormancy Breaking of Traveller\'s Palm Seed

โดย                                      นายศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 25 เมล็ด  เป็นระยะเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่าการแช่เมล็ดในกรดซัลฟิวริก 98เปอร์เซ็นต์ นาน 4 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมล็ดมีอัตราในการงอกเร็วที่สุด 7 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 75 เปอร์เซ็นต์และมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) ปานกลาง ในขณะที่เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตาย มีค่าน้อยที่สุด รองลงมา ได้แก่ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน การแช่เมล็ดในน้ำอุ่น50 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที และ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน ตามลำดับ ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่เหมาะสมที่สุด และเป็นอันตรายน้อยที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกรใช้ คือ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน

 


เข้าสู่ระบบ