งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 2043 ครั้ง ดาวน์โหลด 194 ครั้ง
ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น
ผู้วิจัย สุกัญญา คำศิริ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 147 ครั้ง ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ข้าวพันธุ์กข 33
A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of
RD33 Rice
โดย นางสาวสุกัญญา คำศิริ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข 33 (หอมอุบล 80)ได้ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบCRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% ทุกๆ7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้จำนวนรวงต่อต้น น้ำหนักผลผลิต และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุกคือ 11 รวงต่อต้น 24.33 กรัม/ต้น และ 3.33 กรัม ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 36% และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลางคือ 136 ซม. รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 143 ซม. และ มีจำนวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด ปานกลางคือ 10.3 รวงต่อต้น 37.7% 21.67 กรัม/ต้น และ 3.13 กรัม ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง
ผู้วิจัย จุฑามาศ เจาะจง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 121 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for Lentinus polychrous
Production
โดย นางสาวจุฑามาศ เจาะจง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2557 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 10 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดเร็วที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5
(ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลาดับ สาหรับจานวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจานวนดอกเฉลี่ยที่ 12.56 10.13 7.20 6.23 และ 4.03 ดอก/ถุง ตามลาดับ ส่วนน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดบดสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 59.55 52.89 37.92 34.36 และ 25.39 กรัม/ถุง ตามลาดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดที่ดี มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด
คาสาคัญ เห็ดบด ไมยราบยักษ์ ขี้เลื่อย ผลผลิต
ผู้วิจัย พรพิศ สมพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 411 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ประสิทธิภาพเหยื่อล่อหอยเชอรี่จากพืช
Efficacy of Golden Apple Snail Bait from Plants
โดย นางสาวพรพิศ สมพร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพในการใช้พืชชนิดต่างๆ เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ เพื่อล่อให้หอยเชอรี่กินเหยื่อมากขึ้นหรือล่อให้มารวมกลุ่มกันจำนวนมากและง่ายต่อการกำจัด วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้ใบผักบุ้งใบมันสำปะหลัง ใบมันเทศ และใบมะละกอเปรียบเทียบกับเหยื่อล่อสำเร็จรูปเป็นลักษณะให้หอยเชอรี่เลือกอาหาร (choice test) ผลการทดลองพบว่าเมื่อถัวเฉลี่ยระยะเวลา 12 ชั่วโมง เหยื่อล่อใบมันเทศมีประสิทธิภาพดีที่สุด สามารถล่อหอยเชอรี่ให้มารวมกลุ่มกันได้มากที่สุด เฉลี่ยคือ 39.31 % รองลงมาได้แก่ เหยื่อล่ออาหารปลาดุก ใบผักบุ้ง ใบมันสำปะหลัง และใบมะละกอ มีค่าเท่ากับ 33.49 33.46 28.24 และ 20.95 % ตามลำดับ แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายชั่วโมงพบว่า การใช้เหยื่อล่อจากใบมันเทศ จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ภายใน 7 ชั่วโมงแรก รองลงมาคือ อาหารปลาดุก ใบผักบุ้ง และใบมันสำปะหลัง ในขณะที่เหยื่อล่อใบมะละกอ อาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้นประมาณชั่วโมงที่ 6 ถึง 10 จึงจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ดังนั้นถ้าต้องการประสิทธิภาพในการเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ให้มารวมตัวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัดหรือผสมกับเหยื่อพิษภายใน 6 ชั่วโมงแรก ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมันเทศ แต่ถ้า 8 ชั่วโมง ขึ้นไป ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมะละกอ จึงจะได้ผลดีที่สุด