งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
5938
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
5762
เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2556
5001

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
568
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
354
เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2556
246

ผลของการเสริมสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในสารละลายเจือจาง น้าเชื้อสดโค
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 1581 ครั้ง ดาวน์โหลด 1 ครั้ง

บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil



ผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ
ผู้วิจัย นายครรชิตพล โพธิ์พรหม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 2478 ครั้ง ดาวน์โหลด 40 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ
Effects of Chitosan Coating on Storage Life and Postharvest Quality of Papaya Khaek Dam
โดย นายครรชิตพล โพธิ์พรหม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
การศึกษาผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (30±5 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 8 วัน พบว่าค่าคะแนนสีของผลมะละกอพันธุ์แขกดำ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยค่าคะแนนสีผิวพัฒนาจาก ระยะ 1 ถึง ระยะ 3 และหยุดการพัฒนาสีผิวหลังจากนั้นผลเริ่มเหี่ยวนิ่มและเน่าเสีย เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดของมะละกอ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1.5% มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดน้อยที่สุด ส่วน การไม่เคลือบผิวมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อของมะละกอ พบว่าในวันที่ 2 และ 4 มะละกอมีการเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อ แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05) โดยในวันที่ 2 และ 4 มะละกอที่เคลือบผิวด้วย ไคโตซาน 1.5% มีความแน่นเนื้อมากที่สุด เท่ากับ 58.3 และ 28.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนมะละกอที่ไม่เคลือบ (ชุดควบคุม) มีความแน่นเนื้อน้อยที่สุด เท่ากับ 50.0 และ 21.1 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ พบว่าวันที่ 6 และวันที่ 8 มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01 และ p=0.05 ตามลำดับ) โดยมะละกอที่เคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1% มีค่าเฉลี่ยปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงสุดคือ 6.1 องศาบริกซ์ รองลงมาคือ การเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1.5% มีค่าเท่ากับ 6.0 องศาบริกซ์ และ การไม่เคลือบผิว มีค่าเท่ากับ 5.1 องศาบริกซ์ โดยทุกกลุ่มทดลองมีแนวโน้มของค่าเฉลี่ยปริมาณ
ของแข็งที่ละลายน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนวันที่ทำการเก็บรักษา ในขณะที่ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และมีแนวโน้มลดลงในระหว่างการเก็บรักษา
คำสำคัญ ไคโตซาน มะละกอพันธุ์แขกดำ การเก็บรักษา



ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง
ผู้วิจัย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 1841 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                   ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพื้นเมือง

                          พันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง

                          Effects of Azolla Extract on Growth and Yield of Indigenous

                          Hawm Thung Rice in Plot Experiment

โดย                    นายเอนกพงษ์  พรมชาติ

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

         งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในสภาพแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ  Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้ำ ขนาดแปลง 2 X 4 เมตร ผลการทดลองพบว่า สารสกัดแหนแดง (อัตรา 500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 500 มิลลิลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอมากที่สุดและมี น้ำหนักต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก/ไร่) ดีที่สุดคือ 4.26 ต้นต่อกอ 5.20 รวงต่อกอ 337.40 กรัมต่อกอ 96.80 กรัมต่อรวง 58.40 กรัมต่อเมล็ดดี 100 เมล็ด 2.28 กิโลกรัมต่อแปลง และ 456 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังให้ความสูงเฉลี่ย ระดับปานกลางคือ 67.96 เซนติเมตร รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพแหนแดง

มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น มากที่สุดคือ 69.43 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอ และ     น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยปานกลางคือ 335 กรัมต่อกอ และ 1.70 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร

(336 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่ ปุ๋ยน้ำทางการค้า มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวน้อยที่สุดคือ 57.56 เซนติเมตร และให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 1.60 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร

(320 กิโลกรัมต่อไร่) ดังนั้นการใช้สารสกัดหรือน้ำหมักชีวภาพจากแหนแดง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีผลช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว



การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ
ผู้วิจัย นิตยา พรมบู่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 3682 ครั้ง ดาวน์โหลด 156 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                        การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ  

                               Cultivation ofHypsizygus marmoreus (Peck)in Different 

                               Substrates

โดย                         นางสาวนิตยา พรมบู่

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                 2557

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

            

            ศึกษาการเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ

5 ตะกร้า โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟางข้าว (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ต้นกล้วยสับ กลุ่มทดลองที่ 3 หญ้าคา และกลุ่มทดลองที่ 4 หญ้าแฝก พบว่า การใช้ฟางข้าว มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด คือ 16.40 วัน รองลงมาได้แก่ การใช้หญ้าแฝก หญ้าคา และต้นกล้วยสับ มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 18.83 และ 20.00 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า  การใช้ต้นกล้วยสับมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.56 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าคา และหญ้าแฝก มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 26.40 14.43 และ 14.43 ดอกต่อตะกร้า ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ต้นกล้วยสับมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 53.66 กรัมต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าแฝกและหญ้าคา มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 50.00 29.00 และ 26.33 กรัมต่อตะกร้า ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดโคนน้อยทดแทนฟางข้าว คือ ต้นกล้วยสับเนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด ถึงแม้จะใช้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดแต่ถือว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

คำสำคัญ   เห็ดโคนน้อย ฟางข้าว ต้นกล้วย และผลผลิต


เข้าสู่ระบบ