งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย มัจฉา วรรณเวช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 3478 ครั้ง ดาวน์โหลด 342 ครั้ง
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดีย โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดหอมเรดโอ๊คเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 ยังมีผลทำให้ผักกาดหอมเรดโอ๊ค มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์พียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี ปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ และ การเปลี่ยนแปลงสีใบ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้
ผู้วิจัย ปิยะพร ทองจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 145 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of Bottle Gourd White Baron
โดย นางสาวปิยะพร ทองจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลอง
แบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้่าๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลสุกร และ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จ่านวนใบเฉลี่ย น้่าหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อแปลง และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลงมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 15.24 กิโลกรัมต่อแปลง และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้มีแนวโน้มให้ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุดคือ 5.52 เซนติเมตร และ 48. 80 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ มีความสูงเฉลี่ย 22.29 เซนติเมตร จ่านวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 5.12 กิโลกรัมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลง 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.45 เซนติเมตร
ค่าส่าคัญ กะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยโบกาฉิ ปุ๋ยน้่าหมักอินทรีย์
ผู้วิจัย ถนอม ราชภักดี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 1235 ครั้ง ดาวน์โหลด 84 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตของมะเขือยาวสีม่วงลูกผสม (คาสิโน F1)
Effect of Chemical and Liquid Biostimulants Fertilizer on Growth
and Yield of Eggplant (Casino F1)
โดย นายถนอม ราชภักดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวสีม่วงลูกผสม (คาสิโน F1) วางแผนการทดลองแบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 18 ต้น ขนาดแปลง 1 x 10 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ 13-13-21 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ ปุ๋ยน้ำหมัก
มูลไก่ (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ ปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา (อัตรา 200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ ปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ (อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ 13-13-21(อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ให้ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนดอกทั้งหมด จำนวนดอกดอกที่ติดผล ความยาวผลเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตรวมมากที่สุด คือ 37.79 เซนติเมตร 22.13 เปอร์เซ็นต์ 23.15 เปอร์เซ็นต์ 13.87 เซนติเมตร และ 7.40 กิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มให้ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุดด้วย คือ 148 กรัม และ 82.90 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมา คือ กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ ปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) เนื่องจากดัชนีทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย
ปานกลาง รองลงมาจาก กลุ่มทดลองที่ 1 ส่วน กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับ ปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา (อัตรา 200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) ไม่แนะนำให้ใช้ในการผลิตมะเขือยาวสีม่วง เนื่องจากเกือบทุกตัวดัชนีชี้วัดมีค่าน้อยที่สุด ยกเว้นความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยเพียงค่าเดียวที่อยู่ในระดับปานกลาง
คำสำคัญ มะเขือยาวสีม่วง พันธุ์ลูกผสมคาสิโน F1ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำหมักชนิดต่างๆ
ผู้วิจัย ยมนา หาทรัพย์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 470 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดแมงลักคาและสะเดาต่อการเข้าทาลายของเพลี้ยอ่อนถั่ว
Efficacy of Mintweed and Neem Extracts on Aphids Infestation
โดย นายยมนา หาทรัพย์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนถั่วจากสารสกัดใบแมงลักคาและใบสะเดาในรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ความเข้มข้น 5% โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้า ซ้าละ 10กระถาง ดังนี้กลุ่มทดลองที่ 1น้าเปล่า (ชุดควบคุม) กลุ่มทดลองที่ 2 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 3 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 4 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% และกลุ่มทดลองที่ 5 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% ผลการทดลองพบว่า หลังจากพ่นสารสกัดแมงลักคาที่สกัดด้วยไอน้าครั้งสุดท้าย พบเพลี้ยอ่อนถั่วบนต้นถั่วพุ่มเฉลี่ยเพียง 1 ตัวต่อต้น แสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง สารสกัดที่มีประสิทธิภาพรองลงมา คือสารสกัดสะเดาด้วยไอน้าที่พบเพลี้ยอ่อนถั่วเพียง 10 ตัวต่อต้น ส่วนสารสกัดแมงลักคา และสารสกัดสะเดาที่สกัดด้วยน้า ก็มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนเช่นกันแต่ไม่สูงเท่าการสกัดด้วยไอน้า
คาสาคัญ แมงลักคา ใบสะเดา เพลี้ยอ่อนถั่ว