บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
พื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง
Effects of Chitin-Chitosan from Animal Shells on Growth and Yield of
Indigenous Hawm Thung Rice
โดย นายยุทธิชัย มาลาสาย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ สารไคโตซานจากเปลือกปู กุ้ง และหอย เปรียบเทียบกับสารไคโตซานจากท้องตลาด (Bio proroots) และปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทั้งหมด 5 กลุ่มทดลอง จานวน 5 ซ้า ซ้าละ 10 กระถาง ผลการทดลองพบว่า การฉีดพ่นสารไคโตซานจากเปลือกปู ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตสูงกว่ากลุ่มทดลองที่เป็นสารไคโตซานจากเปลือกลาตัวสัตว์อื่นๆ และปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวมากที่สุดคือ 97.30 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 13 ต้น/กอ มีจานวนรวงต่อกอ 10.60 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 136.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 75.40 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 26.30 เปอร์เซ็นต์ และมีน้าหนักเมล็ดดี 328.25 กรัม ตามลาดับ รองลงมาคือ การฉีดพ่นสารไคโตซานจากท้องตลาด มีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวคือ 89.80 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 12.50 ต้น/กอ จานวนรวงต่อกอ 9.90 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 118.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 77.50 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 22.70 เปอร์เซ็นต์ และน้าหนักเมล็ดดี 262.60 กรัม ผลที่ได้จากการทดลอง พบว่า การใช้สารไคโต-ซานจากเปลือกปูมีแนวโน้มทาให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งดีมากที่สุด
คาสาคัญ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ไคโตซาน ผลผลิต การเจริญเติบโต