งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93098
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93059
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92430

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย ธีระศักดิ์ สุวะชัย และ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89460 ครั้ง ดาวน์โหลด 55 ครั้ง

ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด

          และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52

          ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง

                                  Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination

                                              and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may var. Tian-lai 52)

          Under Drought Stress

โดย                            นายธีระศักดิ์  สุวะชัย   

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ

 

              ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะ ที่ความเข้มข้น 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ใน สารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทำให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะมากที่สุด  และการทดลองที่ 2).ศึกษาผลของการแช่เมล็ดใน กรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในนํ้ากลั่นแล้วได้รับนํ้าตามปกติ กลุ่มที่ 2.แช่นํ้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3.แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นำไปปลูกในเรือนเพาะชำ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับนํ้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทำให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดนํ้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกมีความยาวลำต้นและรากสด น้ำหนักสดลำต้นและราก และน้ำหนักแห้งลำต้นและรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลำต้นสดเท่ากับ 0.14 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด

 



การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง
ผู้วิจัย นิตยา มูลรัตน์ และ สุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 93098 ครั้ง ดาวน์โหลด 356 ครั้ง

ปฏิกิริยาสีน้้าตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกท้าลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะท้าให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ท้าให้เกิดปัญหาที่ส้าคัญและเป็นตัวก้าหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่้า ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จ้านวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส้าคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ท้าให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จ้านวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน
ผู้วิจัย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89434 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                      การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน

                             Efficacy  of  Plant  Extracts  for Aphids  Control

โดย                       นางสาวธีระวัลย์     วงมาเกษ

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา              2558

อาจารย์ที่ปรึกษา       อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

             ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  วางแผนการทดลองแบบ  3×3 Factorial+1 in Completely Randomized Design  (CRD) โดยใช้ความเข้มข้น  5   10 และ 15  เปอร์เซ็นต์  ที่เวลา 24  48 และ 72 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับ  Ethyl  alcohol 50%  เป็นชุดควบคุม  พบว่า  สารสกัดจากใบดาวเรืองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ 48   ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของเพลี้ยอ่อนมากที่สุด  คือ  88.89 เปอร์เซ็นต์  และมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  และสารสกัดจากใบแมงลักคา   ตามลำดับ  ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดจากพืชที่เหมาะสมที่สุด คือ  15  เปอร์เซ็นต์  ที่ 48 ชั่วโมง  มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย  98.33 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่      10 เปอร์เซ็นต์  และ  5 เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับ   และเมื่อตรวจสอบระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษ  (LC50 และ LT50)    พบว่า   สารสกัดจากใบดาวเรืองมีค่าน้อยที่สุด   ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษมากที่สุด  ดังนั้น  หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  แนะนำให้ใช้สารสกัดจากใบดาวเรือง  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ 15 เปอร์เซ็นต์  ภายใน  48   ชั่วโมง  สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนตาย  ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ  15  เปอร์เซ็นต์  ในขณะที่สารสกัดจากใบแมงลักคาทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด



อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของ ถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายมนต์ชัย แสงกล้า | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88550 ครั้ง ดาวน์โหลด 73 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรี่อง               อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่ม

                      เมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี  (cv. CP 4-2-3-1)

                      Organic and Chemical Fertilizers Rate on Growth and Yield of   

                       Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                 นายมนต์ชัย แสงกล้า

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา        2558

อาจารที่ปรึกษา   อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา    

 

การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลอง 1)  ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ที่ 4) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตถั่วพุ่มถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี เนื่องจากให้น้ำหนักมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ มากที่สุดคือ 818 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก 309 กิโลกรัมต่อไร่ และ 78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น และดัชนีการเก็บเกี่ยว มีค่าปานกลาง รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าดัชนีตัวชี้วัด น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มทดลองที่ 5 คือ 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ดปานกลางคือ 9 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝัก และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับกลุ่มทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มทดลองที่ 1) ยกเว้นค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ทุกกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ


เข้าสู่ระบบ