งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88452 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
เรื่อง ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro
โดย นางสาวพิลาวรรณ จันทะโคตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l
ผู้วิจัย เกษม สุดดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89415 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวโพดฝักอ่อน(พันธุ์แปซิฟิค271)
Study on Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Baby Corn (cv.Pacific 271)
โดย นายเกษม สุดดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิค271โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด L และ S มากที่สุด คือ 139 เซนติเมตร 177 กิโลกรัม/ไร่ 150 กิโลกรัม/ไร่ และ 3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ความยาวฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด M เฉลี่ย ปานกลาง คือ 669 กิโลกรัม/ไร่ 10.1 เซนติเมตร และ 8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 750 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยคอก เพียงอย่างเดียว ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ กับการไม่ใส่ปุ๋ย มีค่าน้อยที่สุดในทุกตัวชี้วัด
ผู้วิจัย นางสาวขนิษฐา คูณตาแสง และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88318 ครั้ง ดาวน์โหลด 26 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ไข่แดงไก่ไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด ในสูตรสารละลายเจือจางน้ำเชื้อโค โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) โดยมี 4 ทรีตเมนต์ คือ ไข่แดงไกไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด และมี 4 บล็อก 4 สัปดาห์ การเจือจางน้ำเชื้อใช้สูตร Egg Yolk Tris ใช้ไข่แดง 25% ของสารเจือจางน้ำเชื้อ ใช้พ่อพันธุ์โคชาร์โรเล่ส์ จำนวน 1 ตัว รีดน้ำเชื้อทุกสัปดาห์ น้ำเชื้อที่รีดได้แบ่งเป็น 4 ส่วน แล้วเจือจางด้วยสารเจือจางน้ำเชื้อ 4 ชนิด ที่มีส่วนประกอบของไข่แดงในแต่ล่ะสูตรร้อยละ 25 ของสารเจือจางน้ำเชื้อ นำน้ำเชื้อที่เจือจางไว้ไปเก็บในกระติกน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และทำการตรวจ การเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติทุกๆ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติ ในทุกชั่วโมงของการตรวจไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
คำสำคัญ : ไข่แดงไก่ไข, ไข่แดงไก่พื้นเมือง, ไข่แดงนกกระทา, ไข่แดงเป็ด, น้ำเชื้ออสุจิ
Abstract
The purpose of this study was to investigate the effect of different types of egg yolk (layers, native hens, quails and duck) in bull semen diluter. Experimental design was conducted using Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 types of egg yolks as the treatments and 4 periods of week as blocks. Semen dilution was based on Egg Yolk Tris formula. With 25% of egg yolk. Semen was collected from one Charolais bull each week and divided into 4 ports for each treatment. Semen was stored in ice box at 5 . motility, viability, normality were analyzed at 24 hours interval. The result found that there was on significant different among treatment. on motility, viability and normality
Keywords: egg yolk, layers, native hens, quails and duck, sperm, diluter
ผู้วิจัย นางสาวรุจิรา วันบัวแดง | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87720 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Chopped Leucaena Branch to Substitute Sawdust for
Spilt Gill Mushroom (Schizophylum commune) Production
โดยนางสาวรุจิรา วันบัวแดง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา2558
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการทดลองใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครงวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100%กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25%กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% กิ่งกระถินสับ 50%กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% กิ่งกระถินสับ 75%กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งกระถินสับ 100%พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเท่ากับขี้เลื่อย 100% คือ 15.1 วัน ซึ่งนานกว่าวัสดุเพาะชนิดอื่นๆ แต่มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 66.3 ดอก/ถุง และไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดปานกลาง (4.8 กรัม/ถุง) ซึ่งรองจากขี้เลื่อย 100% ดังนั้น การใช้ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% จึงเหมาะที่จะใช้ทดแทนขี้เลื่อย 100% นอกจากนี้ พบว่า การใช้อัตราส่วนของกิ่งกระถินสับเพิ่มมากขึ้นในวัสดุเพาะ ถึงแม้จะมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วขึ้น แต่จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง