งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย พัชรา สังขฤกษ์ และ สมฤดี แท่นคำ | ปีที่พิมพ์ 2554 | อ่าน 90748 ครั้ง ดาวน์โหลด 115 ครั้ง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบนั้น ได้ดำเนินการตามหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือทำการสำรวจตลาด สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค สร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบที่มีลักษณะเทียบเคียงกันมันฝรั่งทอดกรอบ โดยได้ศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการลวกมันสำปะหลังที่มีผลต่อคุณลักษณะด้านสีและเนื้อสัมผัสของมันสำปะหลังทอดกรอบโดยใช้ระยะเวลาในการลวก 0 30 60 และ 90 วินาที ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส และทอดที่อุณหภูมิ 170±5 องศาเซลเซียส โดยวิเคราะห์คุณภาพทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ค่าสี L* a* และ b* และลักษณะเนื้อสัมผัส ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาในการลวกที่ 90 วินาทีจะได้ค่าสี L* และ b* ที่ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบที่วางขายในท้องตลาด ระยะเวลาในการลวกมันสำปะหลังที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อต่อคุณลักษณะด้านเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบอย่างมีนัยสำคัญ(P≤0.05) ระยะเวลาในการลวกที่ 90 วินาที จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สำปะหลังทอดกรอบ มีความกรอบมากที่สุดคือ 2.19 (นิวตัน) การวิเคราะห์ปริมาณไขมันของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ พบว่าระยะเวลาที่กันในการลวกมันสำปะหลังมีผลต่อปริมาณไขมันซึ่งระยะเวลาในการลวกเพิ่มขึ้นมันสำปะหลังที่มีปริมาณการดูดซับน้ำมันน้อยและระยะการลวกที่ 90 วินาที จะดูดซับน้ำมันน้อยที่สุดคือ 17.82% การประเมินด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ พบว่า ความชอบต่อสี ความชอบต่อกลิ่น ความชอบต่อรสชาติ ความชอบต่อเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบพบว่าระยะเวลาการลวกที่ 90 วินาที เหมาะสมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบให้มีลักษณะเทียบเคียงมันฝรั่งทอดกรอบที่วางขายในท้องตลาดมากที่สุด
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88930 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง
ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%
ผู้วิจัย อัครพล สมดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89577 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ของผักกวางตุ้ง
Study on Efficiency of Bio-Fertilizer on Growth and Yield of
Chinese Cabbage
โดย นายอัครพล สมดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การใช้สารสกัดชีวภาพจากเศษปลา สารสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ สารสกัดชีวภาพจากเศษผัก และใช้น้ำธรรมดา เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งมากที่สุด และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.01) โดยมีความสูงเฉลี่ย 39.20 เซนติเมตร ความกว้างใบเฉลี่ย 13.40 เซนติเมตร ความยาวใบเฉลี่ย 31.30 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 20.43 กิโลกรัม รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษผักตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำธรรมดา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
ผู้วิจัย เกษม สุดดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89417 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวโพดฝักอ่อน(พันธุ์แปซิฟิค271)
Study on Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Baby Corn (cv.Pacific 271)
โดย นายเกษม สุดดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิค271โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด L และ S มากที่สุด คือ 139 เซนติเมตร 177 กิโลกรัม/ไร่ 150 กิโลกรัม/ไร่ และ 3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ความยาวฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด M เฉลี่ย ปานกลาง คือ 669 กิโลกรัม/ไร่ 10.1 เซนติเมตร และ 8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 750 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยคอก เพียงอย่างเดียว ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ กับการไม่ใส่ปุ๋ย มีค่าน้อยที่สุดในทุกตัวชี้วัด