งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93100
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93065
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92431

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงและสารสกัดจากธรรมชาติในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
ผู้วิจัย พวงผกา อ่างมณี | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 91414 ครั้ง ดาวน์โหลด 68 ครั้ง

การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แป้งในน้อยหน่า ซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำมาก่อน ทำการทดลอง 4 แปลงทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – เดือนกันยายน 2553 ที่แปลงเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2551 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP) และ white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม และ 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ในปี 2552 และ 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25% WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 กรัม + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ การพ่นไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ทั้งสี่แปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้น ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารสามารถลดปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ โดยหลังการพ่นสารพบจำนวนเพลี้ยแป้งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ส่วนกรรมวิธีการพ่น white oil (Vite oil 67% EC) มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้ปานกลาง ขณะที่ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลไม่ชัดเจนในปี 2553 และจากการเก็บผลน้อยหน่าที่พ่นไส้เดือนฝอยมาตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบ ไส้เดือนฝอยจากเพลี้ยแป้งที่ตายในกรรมวิธีดังกล่าว การตรวจการเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า



การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย เฉลิมศักดิ์ ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88765 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                             การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and

Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2) : A Case Study of

Nam Yuen District, Ubon RatchathaniProvince

โดย                                        นายเฉลิมศักดิ์  ธุรี

ชื่อปริญญา                          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา            อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา

 

งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ และ 5) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของงามากที่สุด คือ 4.8  8.2  20.6  30.6  42.8 และ 63.4 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดที่ 10  20  30  40 50 และ 60 วันหลังปลูก และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีความสูงเฉลี่ยของงาน้อยที่สุด ส่วนน้ำหนักแห้งทั้งหมด น้ำหนักเมล็ดงา และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว พบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีค่าสูงที่สุดคือ 2,773 กิโลกรัมต่อไร่ 315 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.114 ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01)

คำสำคัญ   งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยคอก (มูลวัว)



อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียว
ผู้วิจัย มนตรี แก่นคา และ ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90421 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง

อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียว โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial in RCBDมี 2 ปัจจัย คือ ชนิดพืช และวัสดุคลุมดิน ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง( 85 วัน) เมื่อพิจารณาเฉพาะชนิดของวัสดุคลุมดิน พบว่า การใช้ชานอ้อยคลุมดินมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (124.05 ซม.) จานวนวันออกดอกเฉลี่ยเร็วที่สุด (51.35 ซม.) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ย น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ย และการให้ฝักข้าวโพดคุณภาพระดับเกรด A มากที่สุด รองลงมาคือ การไม่ใช้วัสดุคลุมดิน ส่วนน้อยที่สุดคือ การใช้แกลบดิบคลุมดิน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพืชกับวัสดุคลุมดิน พบว่า สาหรับข้าวโพดหวาน การใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (129.44 ซม.) น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด ( 826.67 กิโลกรัมต่อไร่) และให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A ปานกลาง เกรด B มากที่สุด ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่า การใช้ชานอ้อนเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก มีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (118.86 ซม.) จานวนวันออกดอกเร็วที่สุด (47.08 วัน) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ยและน้าหนักของผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด (1.20 ฝัก/ต้น และ 720 กิโลกรัม /ไร่ ตามลาดับ) นอกจากนี้ยังให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A มากที่สุด



การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย นางสาวรุจิรา วันบัวแดง | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87722 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง การใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง

Using Chopped Leucaena Branch to Substitute Sawdust for

Spilt Gill Mushroom (Schizophylum commune) Production

โดยนางสาวรุจิรา    วันบัวแดง

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2558

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ดร.เสกสรร  ชินวัง

 

ศึกษาการทดลองใช้กิ่งกระถินสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครงวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100%กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25%กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% กิ่งกระถินสับ 50%กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% กิ่งกระถินสับ 75%กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งกระถินสับ 100%พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเท่ากับขี้เลื่อย 100% คือ 15.1 วัน ซึ่งนานกว่าวัสดุเพาะชนิดอื่นๆ แต่มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 66.3 ดอก/ถุง และไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดปานกลาง (4.8 กรัม/ถุง) ซึ่งรองจากขี้เลื่อย 100% ดังนั้น การใช้ขี้เลื่อย 75% กิ่งกระถินสับ 25% จึงเหมาะที่จะใช้ทดแทนขี้เลื่อย 100% นอกจากนี้ พบว่า การใช้อัตราส่วนของกิ่งกระถินสับเพิ่มมากขึ้นในวัสดุเพาะ ถึงแม้จะมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วขึ้น แต่จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง


เข้าสู่ระบบ