งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93096
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93056
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92428

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้กกราชินีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
ผู้วิจัย ปรันยาน์ มณีสร้อย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88994 ครั้ง ดาวน์โหลด 19 ครั้ง

การใช้กกราชินีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม

Using Umbrella Plant(CyperusinvolucratusRottb.)to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom (Pleurotusosttreatus (Fr.) Kummer) Production

โดย                       นางสาวปรันยาน์  มณีสร้อย

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

ศึกษาการใช้กกราชินีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง)พบว่า ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (กกราชินีร้อยละ 100)รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 4

(ขี้เลื่อยร้อยละ 25 กกราชินีร้อยละ 75) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อยร้อยละ 100)กลุ่มทดลองที่ 3

(ขี้เลื่อยร้อยละ 50 กกราชินีร้อยละ 50) และกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อยร้อยละ 75 กกราชินีร้อยละ 25) โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดคือ 26 22 2120 และ 20 วัน ตามลำดับส่วนปริมาณดอกต่อถุงมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 3กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 7.93 6.36 5.33 4.47 และ 2.61 ดอก/ถุง ตามลำดับ และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 4กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ  64.58 31.56 30.44 29.84 และ 14.67 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของกกราชินีที่เหมาะสมสำหรับใช้ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้กกราชินีร้อยละ 25 ขี้เลื่อยร้อยละ 75 เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วที่สุด และให้ผลผลิตรองมาจากการใช้ขี้เลื่อยร้อยละ 100 เท่านั้นการใช้กกราชินีเสริมในวัสดุเพาะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตเห็ดของเกษตรกรได้เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีมากและหาได้ง่ายในท้องถิ่น

 



ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส
ผู้วิจัย นายประวิช เพ็ชรโย | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88152 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส

                           Impacts of Paraquat on Green Lacewing

โดย                     นายประวิช  เพ็ชรโย

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

ศึกษาผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส  เพื่อประเมินหาผลกระทบของสารพาราควอทต่อการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของแมลงช้างปีกใส มีการวางแผนการทดลองแบบ  Completely Randomized Design (CRD)  ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลอง ละ 5 ซ้ำ  ซ้ำละ 10 ตัว พบว่า การใช้สารพาราควอท ในอัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ก็มีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสมากที่สุด คือ 50 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลานานขึ้น โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลอง         (96 ชั่วโมง) การใช้สารพาราควอท อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ยังคงมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์ การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสสูงที่สุด คือ 86 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเฉลี่ย เท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้จะมีเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ยปานกลาง คือ105.40 เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม รองลงมาคือ การใช้สารพาราควอท อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้ของแมลงช้างปีกใสเฉลี่ย เท่ากับ          82 เปอร์เซ็นต์ 18 เปอร์เซ็นต์ และ 97 เปอร์เซ็นต์ (ที่ 96 ชั่วโมง) ตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำเปล่า (ชุดควบคุม) มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ย เท่ากับ    34 เปอร์เซ็นต์ 66 เปอร์เซ็นต์ และ 119.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้น การใช้สารพาราควอททุกอัตรา มีผลกระทบ ต่อการดำรงอยู่ของแมลงช้างปีกใส ทั้งหมด เพราะถึงแม้จะใช้ในความเข้มข้น          หรืออัตราต่ำๆ ก็มีผลทำให้แมลงช้างปีกใสตายครึ่งหนึ่ง ของแมลงช้างปีกใสทั้งหมด ภายใน 24 ชั่วโมง 



การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อย ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย กันยา คิละลาย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88976 ครั้ง ดาวน์โหลด 50 ครั้ง

บทคัดย่อ

เรื่อง                       การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
                              Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute Sawdust for

                              Phoenix Oyster  Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production

โดย                        นางสาวกันยา     คิละลาย

ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

                 ศึกษาการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดสั้นที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% หญ้ากินนี 50%รองลงมากลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% หญ้ากินนี25% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% หญ้ากินนี 75%  กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% และกลุ่มทดลองที่ 5 หญ้ากินนี 100% โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 19.1 19.8 19.8 20.9 และ 23.5 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ          กลุ่มทดลองที่ 2  กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4  และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่คือ 6.6 2.9 2.0 1.9 และ1.3 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้ามากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4 และ กลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36 34.3 30.2 23.5 และ18.1 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าอัตราส่วนของหญ้ากินนีในวัสดุเพาะที่เหมาะสมคือ ขี้เลื่อย 75%  หญ้ากินนี 25% เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองจากการใช้ขี้เลื่อย 100% และระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง

 

คำสำคัญ   เห็ดนางฟ้า หญ้ากินนี ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต

 

 

 



การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวพันธุ์กข 33
ผู้วิจัย สุกัญญา คำศิริ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88955 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

                                  ข้าวพันธุ์กข 33

                                  A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of

                                  RD33 Rice

โดย              นางสาวสุกัญญา   คำศิริ                    

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์โดม  หาญพิชิตวิทยา                             

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข 33 (หอมอุบล 80)ได้ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบCRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% ทุกๆ7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้จำนวนรวงต่อต้น น้ำหนักผลผลิต และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุกคือ 11 รวงต่อต้น 24.33 กรัม/ต้น และ 3.33 กรัม ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 36% และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลางคือ 136 ซม. รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 143 ซม. และ มีจำนวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด ปานกลางคือ 10.3 รวงต่อต้น 37.7% 21.67 กรัม/ต้น และ 3.13 กรัม ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง


เข้าสู่ระบบ