งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89930 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด
ผู้วิจัย ทิพย์สุดา วงศ์กลม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88995 ครั้ง ดาวน์โหลด 38 ครั้ง
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดียว โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1 มีผลใกล้เคียงกันที่ทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลเสริมวัวอัตราส่วน 1:1 ยังมีผลทำให้ผักกาดกวางตุ้งโชว์จีน มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี และปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1ร่วมกับสารละลายมาตรฐานอนินทีย์ สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้
ผู้วิจัย นางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89238 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่องอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกัน
ของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of White
Chrysanthemum (cv. Yuko)
โดยนางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี
ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ โดยวางแผนการทดลองแบบ6x 5Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiterความเข้มข้น 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 5 mlมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 23.40 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ -18.69% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 22.80 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ -12.42% มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01) นอกจากนี้จากการทดลองพบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.7-0.9% ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น อายุการปักแจกันมีแนวโน้มสั้นลง และดอกเบญจมาศมีอัตราการดูดน้ำผิดปกติ ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiterเท่ากับ 0.1% และไม่เกิน 0.3% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด จึงทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 15.60 วัน
ผู้วิจัย อภิสิทธิ์ พันธุ์เพ็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88160 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของ ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2
Study of Farm Yard Manure and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Sweet Corn (cv. Insea 2)
โดย นายอภิสิทธิ์ พันธุ์เพ็ง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ ผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ทาการทดลองในแปลงเกษตร ที่บ้านปากห้วยวังนอง หมู่ 6 ตาบลปทุม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จานวน 3 ซ้า ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลทดลองพบว่าความสูงของต้นข้าวโพดหวานอินทรี 2 เมื่ออายุ 20 30 40 50 และ 60 วันหลังปลูก กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงของข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง (P≤0.01) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้าหนักฝักสดพร้อมเปลือก น้าหนักฝักสดปอกเปลือก และความยาวฝัก ของข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 มีแนวโน้มมากที่สุดคือ 2,118 กิโลกรัมต่อไร่ 1,410 กิโลกรัมต่อไร่ และ 16.1 ซม.ตามลาดับ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่า 2,108 กิโลกรัมต่อไร่ 1,403 กิโลกรัมต่อไร่ และ 15.6 ซม. ดังนั้นอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ที่เหมาะสม ที่แนะนาให้ใช้แทนปุ๋ยเคมีพียงอย่างเดียวและลดต้นทุนการผลิตคือการใช้ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่