งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย มนตรี แก่นคา และ ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90370 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง
อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียว โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial in RCBDมี 2 ปัจจัย คือ ชนิดพืช และวัสดุคลุมดิน ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง( 85 วัน) เมื่อพิจารณาเฉพาะชนิดของวัสดุคลุมดิน พบว่า การใช้ชานอ้อยคลุมดินมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (124.05 ซม.) จานวนวันออกดอกเฉลี่ยเร็วที่สุด (51.35 ซม.) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ย น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ย และการให้ฝักข้าวโพดคุณภาพระดับเกรด A มากที่สุด รองลงมาคือ การไม่ใช้วัสดุคลุมดิน ส่วนน้อยที่สุดคือ การใช้แกลบดิบคลุมดิน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพืชกับวัสดุคลุมดิน พบว่า สาหรับข้าวโพดหวาน การใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (129.44 ซม.) น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด ( 826.67 กิโลกรัมต่อไร่) และให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A ปานกลาง เกรด B มากที่สุด ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่า การใช้ชานอ้อนเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก มีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (118.86 ซม.) จานวนวันออกดอกเร็วที่สุด (47.08 วัน) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ยและน้าหนักของผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด (1.20 ฝัก/ต้น และ 720 กิโลกรัม /ไร่ ตามลาดับ) นอกจากนี้ยังให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A มากที่สุด
ผู้วิจัย ฐิติพร ภักดีโสภา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88737 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for
Schizophylum commune Production
โดย นางสาวฐิติพร ภักดีโสภา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75% และกลุ่มทดลองที่ 5 ไมยราบยักษ์ 100% ผลการทดลองพบว่าการใช้ไมยราบยักษ์ 100% (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยได้ เนื่องจากมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด (21.4 กรัมต่อถุง) และใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด (12.7 วัน) ดอกเห็ดที่ได้มีขนาดใหญ่ จึงทาให้มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยน้อย (63.1 ดอกต่อถุง) แต่ขนาดของดอกตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ร่วมกับไมยราบยักษ์ 75% (กลุ่มทดลองที่ 4) มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอก และ น้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยปานกลางคือ 15.9 วัน และ 10.2 กรัมต่อถุง ตามลาดับ และมีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 85.7 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% (กลุ่มทดลอง-
ที่ 1) ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด (27.5 วัน) และมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 5.9 กรัมต่อถุง จึงไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนไมยราบยักษ์ในวัสดุเพาะ พบว่า เมื่อมีการเพิ่มสัดส่วนของไมยราบยักษ์มากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อสั้นลงและมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากขึ้น
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว ผลผลิต
ผู้วิจัย ปวีณา ศักดาวงศ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89839 ครั้ง ดาวน์โหลด 2 ครั้ง
ผู้วิจัย จุฑามาศ เจาะจง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88259 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for Lentinus polychrous
Production
โดย นางสาวจุฑามาศ เจาะจง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2557 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 10 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดเร็วที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5
(ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลาดับ สาหรับจานวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจานวนดอกเฉลี่ยที่ 12.56 10.13 7.20 6.23 และ 4.03 ดอก/ถุง ตามลาดับ ส่วนน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดบดสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 59.55 52.89 37.92 34.36 และ 25.39 กรัม/ถุง ตามลาดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดที่ดี มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด
คาสาคัญ เห็ดบด ไมยราบยักษ์ ขี้เลื่อย ผลผลิต
แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล