งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย มนตรี แก่นคา และ ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90370 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง
อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียว โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial in RCBDมี 2 ปัจจัย คือ ชนิดพืช และวัสดุคลุมดิน ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง( 85 วัน) เมื่อพิจารณาเฉพาะชนิดของวัสดุคลุมดิน พบว่า การใช้ชานอ้อยคลุมดินมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (124.05 ซม.) จานวนวันออกดอกเฉลี่ยเร็วที่สุด (51.35 ซม.) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ย น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ย และการให้ฝักข้าวโพดคุณภาพระดับเกรด A มากที่สุด รองลงมาคือ การไม่ใช้วัสดุคลุมดิน ส่วนน้อยที่สุดคือ การใช้แกลบดิบคลุมดิน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพืชกับวัสดุคลุมดิน พบว่า สาหรับข้าวโพดหวาน การใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (129.44 ซม.) น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด ( 826.67 กิโลกรัมต่อไร่) และให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A ปานกลาง เกรด B มากที่สุด ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่า การใช้ชานอ้อนเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก มีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (118.86 ซม.) จานวนวันออกดอกเร็วที่สุด (47.08 วัน) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ยและน้าหนักของผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด (1.20 ฝัก/ต้น และ 720 กิโลกรัม /ไร่ ตามลาดับ) นอกจากนี้ยังให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A มากที่สุด
ผู้วิจัย นายมนต์ชัย แสงกล้า | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88514 ครั้ง ดาวน์โหลด 73 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรี่อง อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่ม
เมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
Organic and Chemical Fertilizers Rate on Growth and Yield of
Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)
โดย นายมนต์ชัย แสงกล้า
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลอง 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ที่ 4) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตถั่วพุ่มถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี เนื่องจากให้น้ำหนักมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ มากที่สุดคือ 818 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก 309 กิโลกรัมต่อไร่ และ 78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น และดัชนีการเก็บเกี่ยว มีค่าปานกลาง รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าดัชนีตัวชี้วัด น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มทดลองที่ 5 คือ 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ดปานกลางคือ 9 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝัก และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับกลุ่มทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มทดลองที่ 1) ยกเว้นค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ทุกกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ
ผู้วิจัย สมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88341 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร
Production of Rice Straw Mushroom Spawn from Cow Buffalo and Pig Manures
โดย นายสมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร เพื่อเปรียบเทียบกับเชื้อทางการค้า โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 4 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ตะกร้า ผลการทดลอง พบว่า การเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดฟาง และระยะเวลาที่ใช้ในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนออกดอก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 11.13 – 12.27 วัน และ 6 – 7 วัน ตามลาดับ ส่วนจานวนดอกเฉลี่ยที่ออกในแต่ละตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ มีจานวนดอกมากที่สุดคือ 16.66 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาคือ เชื้อเห็ดทางการค้า เชื้อเห็ดจากมูลโค และ เชื้อเห็ดจากมูลสุกร โดยมีจานวนดอกเฉลี่ย 14.40 10.06 และ 9.86 ดอกต่อตะกร้า ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.05) ในขณะที่น้าหนักผลผลิตของเห็ดฟางเฉลี่ยต่อ
ตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดทางการค้าให้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ 272.07 กรัมต่อตะกร้า รองลงมา คือ เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ เชื้อเห็ดจากมูลโค และเชื้อเห็ดจากมูลสุกร 213.60 141.07 และ 108.47 กรัมต่อตะกร้า แสดงให้เห็นว่าเห็ดฟางสามารถเจริญเติบโตได้จากเชื้อเห็ดจากมูลโค เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ และเชื้อเห็ดจากมูลสุกรได้ดี แต่ขนาดของดอกเล็ก และทาให้ได้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยน้อยลง ส่วนเชื้อเห็ดทางการค้า (ชุดควบคุม) ขนาดดอกสม่าเสมอและได้น้าหนักดีกว่า หากต้องการใช้มูลสัตว์ทดแทน เชื้อเห็ดทางการค้า แนะนาให้ใช้การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลกระบือ เนื่องจากมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ไม่แตกต่างจากเชื้อเห็ดทางการค้า
คาสาคัญ เห็ดฟาง เชื้อเห็ดทางการค้า มูลโค กระบือ สุกร
แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41
ผู้วิจัย ธราวุฒ สุวอ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88429 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2: กรณีศึกษา อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2): A Case Study of Chanuman District, Amnat Charoen Province
โดย นายธราวุฒ สุวอ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรบ้านหินสิ่ว ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ 5) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้นงาขาว น้ำหนักผลผลิตรวมทั้งหมด น้ำหนักแห้งของเมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวมากที่สุด คือ 175.2 เซนติเมตร 4,608 กก./ไร่ 362 กก./ไร่ และ.0.079 รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักแห้งผลผลิตรวมปานกลาง แต่ให้น้ำหนักแห้งเมล็ดเฉลี่ย และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุด แต่การใส่ปุ๋ยทุกรูปแบบ ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของงาขาวมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยและมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)
คำสำคัญ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก (มูลวัว)