งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93048
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93010
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92388

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของอัตราการให๎ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ตํอการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข๎าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ อาเภอทุํงศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย อรพรรณ หมุนแก๎ว | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88566 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของอัตราการให๎ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ตํอการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ข๎าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ อาเภอทุํงศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Effects of Chemical and Organic Fertilizer Application Rates on Growth and Yield of KDML 105 Rice in Thungsriudom District, Ubon Ratchathani Province
โดย นางสาวอรพรรณ หมุนแก๎ว
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราการให๎ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมตํอการเจริญเติบโตและผลผลิตของข๎าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จานวน 5 กลุํมทดลองๆ ละ 3 ซ้า ขนาดแปลงทดลอง 2×5 เมตร จานวน 15 แปลงยํอย
ผลการทดลองพบวำ การใสํปุ๋ยคอกจากมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมตํอไรํ รํวมกับปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมตํอไรํ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมตํอไรํ และสูตร 46-0-0 อัตรา 8 กิโลกรัมตํอไรํ ชํวงหลังปักดา ครั้งที่ 2 และใสํปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 11 กิโลกรัมตํอไรํ ระยะกาเนิดชํอดอก มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต๎น จานวนรวงตํอกอ น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุดคือ 148 เซนติเมตร 19.4 รวงตํอกอ 511 กิโลกรัมตํอไรํและ 0.67ตามลาดับ ในขณะเดียวกันก็มี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน๎อยที่สุดคือ 6.6 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได๎แกํ การใสํปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมตํอไรํ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมตํอไรํ และสูตร 46-0-0 อัตรา
8 กิโลกรัมตํอไรํ ชํวงหลัง ปักดา ครั้งที่ 2 และใสํปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 11 กิโลกรัมตํอไรํ ระยะกาเนิดชํอดอก มีความสูงเฉลี่ยของต๎น จานวนรวงตํอกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยวเทำกับ 141 เซนติเมตร 18.6 รวงตํอกอ 5.3 เปอร์เซ็นต์ 426 กิโลกรัมตํอไรํ และ 0.56 ตามลาดับ และมีความแตกตำงกันทางสถิติ (p ≤ 0.01)
คาสาคัญ ข๎าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกจากมูลวัว


เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์



ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย ณรงค์ฤทธิ์ อุ่นใจ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88615 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may cv.Big White 852 Hybrid) Under Drought Stress
โดย นายณรงค์ฤทธิ์ อุ่นใจ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของ ต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะที่ความเข้มข้น 0 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทาให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะสูงที่สุด และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในสารละลายกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในน้ากลั่นแล้วได้รับน้าตามปกติ กลุ่มที่ 2 แช่น้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3 แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นาไปปลูกในเรือนเพาะชา โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับน้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทาให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดน้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีความยาวรากสด น้าหนักสดราก และน้าหนักแห้งรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลาต้นสดเท่ากับ 0.48 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
คาสาคัญ : กรดซาลิไซลิก ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 สภาวะแห้งแล้ง



การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
ผู้วิจัย ศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89726 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

เรื่อง                         การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด

         Dormancy Breaking of Traveller\'s Palm Seed

โดย                                      นายศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 25 เมล็ด  เป็นระยะเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่าการแช่เมล็ดในกรดซัลฟิวริก 98เปอร์เซ็นต์ นาน 4 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมล็ดมีอัตราในการงอกเร็วที่สุด 7 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 75 เปอร์เซ็นต์และมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) ปานกลาง ในขณะที่เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตาย มีค่าน้อยที่สุด รองลงมา ได้แก่ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน การแช่เมล็ดในน้ำอุ่น50 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที และ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน ตามลำดับ ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่เหมาะสมที่สุด และเป็นอันตรายน้อยที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกรใช้ คือ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน

 



ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)
ผู้วิจัย นายอิศรา พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89255 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                 ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและ

                           ผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)

Effect of Chemical and Liguid Biostimulant Fertilizer on Growth and Yield of Eggplant (Tomahawk F1)

โดย                 นายอิศรา  พุ่มจันทร์

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2558  

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

            งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 18 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา (อัตรา 200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนดอกเฉลี่ยทั้งหมด จำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล ความยาวเฉลี่ยของผล และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผลมากที่สุด คือ 67.06 เซนติเมตร 67.02 เซนติเมตร 19.12 ดอก 9.28 ดอกต่อต้น 27.00 เซนติเมตร และ 263.54 กรัมต่อผล ในขณะเดียวกันก็ให้ผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมากที่สุด คือ 8.21 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับน้ำหมักมูลไก่ (กลุ่มทดลองที่ 2) มีแนวโน้มให้ค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดน้อยที่สุด ยกเว้นจำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล และผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมีค่าปานกลาง ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) ให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด (13.89 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นในการเพาะปลูกมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักจากพืช จะมีประสิทธิภาพมากกว่าปุ๋ยน้ำหมักมูลสัตว์ และปุ๋ยน้ำหมักจากพืชที่เหมาะสมที่สุดคือ ปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา เพราะให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว


เข้าสู่ระบบ