งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92920
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92869
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92278

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว พื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง
ผู้วิจัย ยุทธิชัย มาลาสาย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87904 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
พื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง
Effects of Chitin-Chitosan from Animal Shells on Growth and Yield of
Indigenous Hawm Thung Rice
โดย นายยุทธิชัย มาลาสาย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ สารไคโตซานจากเปลือกปู กุ้ง และหอย เปรียบเทียบกับสารไคโตซานจากท้องตลาด (Bio proroots) และปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทั้งหมด 5 กลุ่มทดลอง จานวน 5 ซ้า ซ้าละ 10 กระถาง ผลการทดลองพบว่า การฉีดพ่นสารไคโตซานจากเปลือกปู ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตสูงกว่ากลุ่มทดลองที่เป็นสารไคโตซานจากเปลือกลาตัวสัตว์อื่นๆ และปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวมากที่สุดคือ 97.30 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 13 ต้น/กอ มีจานวนรวงต่อกอ 10.60 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 136.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 75.40 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 26.30 เปอร์เซ็นต์ และมีน้าหนักเมล็ดดี 328.25 กรัม ตามลาดับ รองลงมาคือ การฉีดพ่นสารไคโตซานจากท้องตลาด มีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวคือ 89.80 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 12.50 ต้น/กอ จานวนรวงต่อกอ 9.90 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 118.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 77.50 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 22.70 เปอร์เซ็นต์ และน้าหนักเมล็ดดี 262.60 กรัม ผลที่ได้จากการทดลอง พบว่า การใช้สารไคโต-ซานจากเปลือกปูมีแนวโน้มทาให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งดีมากที่สุด
คาสาคัญ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ไคโตซาน ผลผลิต การเจริญเติบโต



ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
ผู้วิจัย พิสิฐ ศรีวะวงค์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89294 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

หอมแบ่งพันธุ์ลับแล

Efficiency of Bio-compost Liquid Produced from Golden Apple Snail

on Multiply Onion Production

โดย    นายพิสิฐ  ศรีวะวงค์

ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

 

ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล ที่ระยะเวลา 45วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ (control)กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:250กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:500กลุ่มทดลองที่ 4 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:1,000 และกลุ่มทดลองที่ 5 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:2,000พบว่า หอมแบ่งพันธุ์ลับแลที่ปลูกร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่อัตรา 1:1,000 มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูง ความยาวราก การแตกกอ และน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด คือ 34.4 ซม.7.26 ซม.4.26 กอ และ2.16กก.ตามลำดับรองลงมาคือ การใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 1:500 1:2,000และ 1:250 ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำที่สุด

 



ผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของ ข้าวเจ้าพันธ์ุ กข 33 ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย สุรพงษ์ วงค์อนันต์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 87654 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการ
ของข้าวเจ้าพันธ์ุ กข 33 ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแล้ง แบ่งเป็ น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่
กลุ่มท



ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย ธีระศักดิ์ สุวะชัย และ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89338 ครั้ง ดาวน์โหลด 55 ครั้ง

ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด

          และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52

          ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง

                                  Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination

                                              and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may var. Tian-lai 52)

          Under Drought Stress

โดย                            นายธีระศักดิ์  สุวะชัย   

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ

 

              ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะ ที่ความเข้มข้น 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ใน สารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทำให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะมากที่สุด  และการทดลองที่ 2).ศึกษาผลของการแช่เมล็ดใน กรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในนํ้ากลั่นแล้วได้รับนํ้าตามปกติ กลุ่มที่ 2.แช่นํ้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3.แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นำไปปลูกในเรือนเพาะชำ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับนํ้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทำให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดนํ้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกมีความยาวลำต้นและรากสด น้ำหนักสดลำต้นและราก และน้ำหนักแห้งลำต้นและรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลำต้นสดเท่ากับ 0.14 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด

 


เข้าสู่ระบบ