งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย อรพรรณ สีลาพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88097 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
ผลของไคโตซานต่อการเข้าทำลายของมอดแป้ง
Effects of Chitosan Coating to Rust-red Flour Beetle Infestation
โดย นางสาว อรพรรณ สีลาพร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคโตซานต่อมอดแป้งแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บโดยการเคลือบภาชนะและให้มอดแป้งสัมผัสไคโตซาน วางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง ๆ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว พบว่าชั่วโมงที่ 240 ทำให้มีอัตราการตายของมอดแป้งมากที่สุด โดยใช้สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1% รองลงมาคือ น้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 0.10% 0.01% 0.001% และชุดควบคุม ตามลำดับ โดยมีจำนวนการตายของมอดแป้งที่ 5.3 2.9 2.7 2.6 2.1 และ 1.6 ตามลำดับ คิดเป็น 53% 29% 27% 26% 21% และ 16% ตามลำดับ ดังนั้นสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1% มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเข้าทำลายของมอดแป้งได้ดีที่สุด
ผู้วิจัย นายนิกร ใยดวง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88977 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพารา
Effect of Herbicide on Termite and Termitomyces Mushroom
in Para Rubber Plantation
โดย นายนิกร ใยดวง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพาราโดยการใช้ Sentricon Bait Station ในการสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่มาติดกับดัก จากการทดลองสุ่มสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่สร้างเห็ดโคนบริเวณนี้ ใช้เหยื่อล่อคือ กระดาษลูกฟูก กับไม้ยางใส่อุปกรณ์ใส่เหยื่อคือ Sentricon Bait Station ทำการเก็บตัวอย่างปลวกแบบสุ่มที่มาติดกับดักจำนวน 15 วัน และเปลี่ยนเหยื่อล่อใหม่ทุกครั้งที่สุ่มเก็บตัวอย่าง สุ่มดักจับปลวก ก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืช โดยกำหนดแปลงขนาด 40x40เมตร แล้วแบ่งแปลงขนาด 10x10 เมตรจะได้ 16 แปลงย่อย 2 พื้นที่ คือ แปลงยางพาราที่ไม่ได้พ่นสารกำจัดวัชพืช และ แปลงยางพาราที่พ่นสารกำจัดวัชพืชหลังการสำรวจทั้งสองแปลงโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนับจำนวนปลวกก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืชและดูปริมาณเห็ดโคน วิเคราะห์ข้อมูล จำนวนของปลวกโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย(Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณปลวกและเห็ดโคนโดยวิเคราะห์หาค่าวิกฤติ t-distribution ระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเห็ดโคนและปลวกในสวนยางพาราระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช จากการเก็บ จำนวน 6 ครั้ง โดยแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 376.00% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 26.44 % และแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 184.67% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 61.72% แสดงว่าการพ่นสารกำจัด
วัชพืชมีผลต่อประชากรปลวกและจำนวนเห็ดโคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการดูปริมาณเห็ดโคนที่ขึ้นในสวนยางพารา พบว่า แปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชพบปริมาณของเห็ดโคนที่ขึ้นประมาณ 25% ของพื้นที่ และแปลงที่พ่นสารเคมีพบปริมาณของเห็ดโคน ประมาณ 10% ของพื้นที่
ผู้วิจัย ทักษ์ดนัย ขันค้า | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88343 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทด้วยการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์
Prolonging of Storability of Bird Chilli (cv. Superhot) with Hot Water Dip Combined with Packaging
โดย นายทักษ์ดนัย ขันค้า
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยจุ่มน้้าร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที เปรียบเทียบกับการจุ่มในน้้ากลั่นที่อุณหภูมิห้อง (ชุดควบคุม) และบรรจุในถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) และถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีน ผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) และน้าไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส จนหมดอายุการเก็บรักษา พบว่าพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุกที่ผ่านการจุ่มน้้าร้อนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที ร่วมกับการบรรจุในถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้้าหนักสด เปอร์เซ็นต์การเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน แต่ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างวิธีการการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้ แต่ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าชุดควบคุม
คาสาคัญ การจุ่มน้้าร้อน บรรจุภัณฑ์ พริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท
ผู้วิจัย เฉลิมศักดิ์ ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88649 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and
Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2) : A Case Study of
Nam Yuen District, Ubon RatchathaniProvince
โดย นายเฉลิมศักดิ์ ธุรี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ และ 5) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของงามากที่สุด คือ 4.8 8.2 20.6 30.6 42.8 และ 63.4 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดที่ 10 20 30 40 50 และ 60 วันหลังปลูก และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีความสูงเฉลี่ยของงาน้อยที่สุด ส่วนน้ำหนักแห้งทั้งหมด น้ำหนักเมล็ดงา และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว พบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีค่าสูงที่สุดคือ 2,773 กิโลกรัมต่อไร่ 315 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.114 ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01)
คำสำคัญ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก (มูลวัว)