งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92919
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92865
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92276

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย อุไรวรรณ กำเนิดสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89496 ครั้ง ดาวน์โหลด 78 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล

                                     Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for

                                     Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamo) Production

โดย                             นางสาวอุไรวรรณ กำเนิดสิงห์

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา               2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

 

               ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ             ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่ากลุ่มทดลองที่มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ ขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% การใช้      ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขุยมะพร้าว 100% และการใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเท่ากับ 25.00 19.06 17.93 15.86 และ 15 วัน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มทดลองที่มีจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25 ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 6.95 6.19 3.53 3.13  และ 2.51 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับกลุ่มทดลองที่ให้น้ำหนักสดเฉลี่ยของเห็ดนางนวลสูงที่สุดคือ  ขี้เลื่อย 75%       ขุยมะพร้าว 25% รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ ขี้เลื่อย 50%  ขุยมะพร้าว 50% การใช้  ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีน้ำหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 24.83 19.39 16.1814.68  และ13.48 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการใช้ ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทน ขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล ควรใช้ในอัตราส่วนขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็นนางนวลได้ดีที่สุด เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดน้อยที่สุด ให้จำนวนดอกเฉลี่ยรองลงมาจากขี้เลื่อย และยังให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด 



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู
ผู้วิจัย จิรพงษ์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90927 ครั้ง ดาวน์โหลด 206 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ                                                เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
                                    Comparison  of  Organic  Fertilizer  Efficiency  on  Growth and                                  Yield of Tomato var. Seeda ‘phedchompoo F1

โดย                              นายจิรพงษ์  หงษ์คำ

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

               งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ  ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 และเพื่อให้ทราบถึงชนิดของ
ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 โดยวางแผนการทดลองแบบ  RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆละ 12 ต้น ดังนั้นกลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิต
มะเขือเทศสีดาเพชรชมพู F1 ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C หรือ รหัส 3 และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด คือ  61.47 เซนติเมตร 27 ผลต่อต้น 34.3 mm. 95.56% และ 3.34 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำครับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำให้มีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด คือ 19.23 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมลูสกร ให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด ไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมัก
โบกาฉิ คือ 18.96 กรัม และมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดของผลสดเฉลี่ย  และผลเกรด C หรือ รหัส 3 อยู่ในระดับปานกลาง คือ 56.39 เซนติเมตร 33.3 mm. และ 64.44 % ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มให้ผลเกรด B หรือ รหัส 2 มากที่สุด คือ 22.22% ส่วน %TSS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50-5.67 °Brix

 



การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 90080 ครั้ง ดาวน์โหลด 117 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และ                                                                          เ                               เห็ดกระด้าง                                                                                                                                                        w                              Study of Chitin and Chitosan Quantity from Animal Shells and                                                     ก                              Amtrak Mushrooms                                                                                                    โดย                          นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา                                                                                               ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                                                              ปีการศึกษา                 2558                                                                                                         อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์    

          การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely  Randomized Design;  CRD) กำหนดให้มี 4 กลุ่มทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยและค่าร้อยละของไคตินที่มีมากที่สุดคือ ไคตินจากกาบหอยโดยมีค่าเท่ากับ 852.51 กรัม และ 85.25% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับปริมาณไคตินจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคตินที่ได้จากเห็ดกระด้าง 734.42กรัม และ 73.44% เปลือกปู 576.09กรัม และ 57.61% ในขณะที่ปลือกกุ้งมีน้ำหนักเฉลี่ยไคตินและร้อยละของไคตินน้อยที่สุดคือ 489.09กรัม และ 48.91% ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของไคโตซานและค่าร้อยละของไคโตซาน พบว่า การสกัดจากกาบหอยมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 834.81 กรัม และ 83.48% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคโตซานที่ได้จากเห็ดกระด้าง 737.77กรัม และ 73.78% ไคโตซานจากเปลือกปู 546.43กรัม และ 54.64% ในขณะที่ไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีน้อยที่สุดคือ 421.44กรัม และ 42.14% ตามลำดับ ส่วนการละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายของไคโตซานที่ละลายได้ดีที่สุดคือ ไคโตซานจากกาบหอย โดยมีเปอร์เซ็นต์การละลายอยู่ที่ 42.8% ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณการละลายไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นการละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้ง 35.5% ไคโตซานจากเปลือกปู 26.7% และไคโตซานจากเห็ดกระด้างมีการละลายน้อยที่สุดคือ 13.9% ตามลำดับ ปริมาณไคตินและไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้างมีปริมาณแตกต่างกัน โดยการสกัดจากกาบหอยจะมีปริมาณไคติน-ไคโตซาน มากที่สุดและมีปริมาณการละลายในน้ำส้มสายชูดีที่สุด รองลงมาคือเห็ดกระด้าง เปลือกปูและเปลือกกุ้ง ตามลำดับ แต่เห็ดกระด้างมีปริมาณการละลายน้อยที่สุด ดังนั้นหากไม่มี กาบหอย แนะนำให้ใช้เปลือกปู มาทำการสกัด จะทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ดีเช่นเดียวกัน



การย่อยได้ของใบตองหมักกากน้ำตาลโดยใช้เทคนิคถุงไนล่อน
ผู้วิจัย ชินวัฒน์ ชูรัตน์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88605 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง


เข้าสู่ระบบ