งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88323 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง

เรื่อง                          ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ  Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro

โดย                          นางสาวพิลาวรรณ  จันทะโคตร

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ  การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l



ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพการสกัด สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน
ผู้วิจัย เยาวภา กลมพันธ์ และ อนุพงษ์ บุญทัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91687 ครั้ง ดาวน์โหลด 241 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัดที่มีผลต่อ %TSS และค่าสีL* a* b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน โดยแปรค่อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 1:20 (w/v) 1:30 (w/v)และ 1:40 (w/v) และแปรอุณหภูมิการสกัดที่50 60 และ 70 ºC ระเหยที่อุณหภูมิ 80 ºC เป็นเวลา2 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ วัด % TSS และวัดค่าสี L* a* b* และศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสและเติมสารสกัดจากหญ้าหวาน เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่า อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัด สกัดได้โดยมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ระหว่าง3.00ºBrix เมื่อผ่านการระเหยพบว่ามีค่าของแข็งที่ละลายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.00–6.06ºBrix ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การวัดค่าสี L*a*b* อัตราส่วนหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ค่าสี L*a*b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวานแตกต่างกัน อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีผลทำให้ค่าสี L*a*b*แตกต่างกัน และการประเมินความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสตามท้องตลาดและเติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวานเพื่อประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยพบว่า น้ำเก๊กฮวยที่เติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน จำนวนผู้ทดสอบ 30 คน โดยผู้ทดสอบทั้ง 30 คน ตอบว่าแตกต่างกัน



ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย ธีระศักดิ์ สุวะชัย และ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89348 ครั้ง ดาวน์โหลด 55 ครั้ง

ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด

          และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52

          ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง

                                  Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination

                                              and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may var. Tian-lai 52)

          Under Drought Stress

โดย                            นายธีระศักดิ์  สุวะชัย   

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ

 

              ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะ ที่ความเข้มข้น 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ใน สารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทำให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะมากที่สุด  และการทดลองที่ 2).ศึกษาผลของการแช่เมล็ดใน กรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในนํ้ากลั่นแล้วได้รับนํ้าตามปกติ กลุ่มที่ 2.แช่นํ้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3.แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นำไปปลูกในเรือนเพาะชำ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับนํ้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทำให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดนํ้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกมีความยาวลำต้นและรากสด น้ำหนักสดลำต้นและราก และน้ำหนักแห้งลำต้นและรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลำต้นสดเท่ากับ 0.14 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด

 



การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
ผู้วิจัย ฐิติรัตน์ โกกะพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88618 ครั้ง ดาวน์โหลด 51 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Bitter Melon (Momordica charantia Linn.)
โดย นางสาวฐิติรัตน์ โกกะพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 20 ต้น โดยใช้ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับมูลโค มูลไก่ มูลสุกร และ มูลค้างคาว ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ 3 คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 201.09 เซนติเมตร จานวนดอกที่ติดผลเท่ากับ 40.07 ดอกต่อต้น จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ยเท่ากับ 37.34 ผลต่อต้น น้าหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 23.3 กิโลกรัมต่อต้น ความยาวผลสดเฉลี่ยคือ 22.21 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ผลผลิตเกรด A มากที่สุดคือ 40.20% รองลงมาคือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลสุกร (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) และที่ไม่แนะนาให้ใช้คือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลค้างคาว (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) เนื่องจาก ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ย น้าหนักสดเฉลี่ย ความยาวผลสดเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 120.53 เซนติเมตร 35.67 ดอกต่อต้น 31.33 ผลต่อต้น 17.80 กิโลกรัมต่อต้น และ 16.65 เซนติเมตร ตามลาดับ และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.01)
คาสาคัญ มะระจีน ปุ๋ยเคมี มูลโค มูลไก่ มูลสุกร มูลค้างคาว


เข้าสู่ระบบ