งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92939
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92880
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92294

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การชักนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสในอ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50
ผู้วิจัย นายทศพล คำมุงคุล | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88723 ครั้ง ดาวน์โหลด 26 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                     การชักนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสในอ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50

Regeneration of Embryogenic Callus in Sugarcane Varieties

Suphanburi 50

โดย                      นายทศพลคำมุงคุล

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

 

ศึกษาอิทธิพลของ 2,4-D ที่มีผลต่อการสร้างแคลลัสของอ้อยสุพรรณบุรี 50ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยวางแผนการทดลองแบบRandomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งการทดลองออกเป็น6 กลุ่มทดลองๆ ละ3 ซ้ำๆละ 5 ชิ้นส่วน ผลการทดลองพบว่าอาหารสังเคราะห์สูตร MS ร่วมกับ 2,4-D 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถพัฒนาให้เกิดแคลลัสมากที่สุดเฉลี่ย 5.0 แคลลัสรองลงมาได้แก่อาหารสังเคราะห์สูตร MS ร่วมกับ 2,4-D1 มิลลิกรัมต่อลิตรMS ร่วมกับ2,4-D 3มิลลิกรัมต่อลิตรMS ร่วมกับ 2,4-D 4 มิลลิกรัมต่อลิตรและ MS ร่วมกับ 2,4-D 5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยสามารถพัฒนาแคลลัสที่ 2.3, 2.0, 1.7 และ 1.7 แคลลัสตามลำดับส่วนสูตรอาหาร MS ที่ไม่เติม 2,4-Dไม่สามารถชักนำให้เกิดการพัฒนาแคลลัสได้



อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของ ถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายมนต์ชัย แสงกล้า | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88420 ครั้ง ดาวน์โหลด 73 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรี่อง               อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่ม

                      เมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี  (cv. CP 4-2-3-1)

                      Organic and Chemical Fertilizers Rate on Growth and Yield of   

                       Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                 นายมนต์ชัย แสงกล้า

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา        2558

อาจารที่ปรึกษา   อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา    

 

การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลอง 1)  ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ที่ 4) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตถั่วพุ่มถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี เนื่องจากให้น้ำหนักมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ มากที่สุดคือ 818 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก 309 กิโลกรัมต่อไร่ และ 78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น และดัชนีการเก็บเกี่ยว มีค่าปานกลาง รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าดัชนีตัวชี้วัด น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มทดลองที่ 5 คือ 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ดปานกลางคือ 9 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝัก และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับกลุ่มทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มทดลองที่ 1) ยกเว้นค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ทุกกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ



คุณค่าทางอาหารของใบมันสาปะหลังหมักสาหรับโคพื้นเมืองไทย
ผู้วิจัย นาย จีระวัฒน์ พรมสีใหม่ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88608 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

บทคัดย่อ
การทาปัญหาพิเศษครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนะในส่วนของใบมันสาปะหลังหมักสาหรับโคพันธุ์บราห์มันโดยนาใบมันสาปะหลังหมักกับกากน้าตาลในระดับต่างๆกันได้แก่ 0, 10, 15, 20 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการอาหารในช่วงฤดูกาลขาดแคลน ตามแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design(CRD)
การศึกษาส่วนประกอบทางเคมี พบว่าใบมันสาปะหลังหมักร่วมกับกากน้าตาลที่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์และน้า 100 ml. ระยะเวลาการหมัก21 วัน เป็นเวลาที่ทาให้พืชหมักมีคุณค่าทางอาหารสูงที่สุดโดยมีปริมาณโปรตีน 24.86เปอร์เซ็นต์ และค่า NDF สูงกว่ากลุ่มอื่นคือ 27.06 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05)และการประเมินคุณภาพพืชหมักของกลุ่มนี้พบว่ามีค่าคะแนนประเมินสูงสุดคือ 23 คะแนน จาก 25 คะแนน จะมีสีน้าตาลอ่อน มีกลิ่นหอมเปรี้ยวคล้ายผลไม้ดอง
คาสาคัญ : ใบมันสาปะหลัง, กากน้าตาล, โคบราห์มัน
ABSTRACT This special issue is aimed at evaluating the nutritional value of the cassava leaves for Brahman Cattle feeding by fermenting the difference levels of molasses ( 0, 10, 15, 20 ) and Cassava leaves. To guide the way to manage of food during season shortage According to the plan of Completely Randomized Design (CRD)
Study of chemical composition, It was found that the cassava leaves were fermented with 15 percent molasses and 100 ml water. The 21 days fermentation time was the highest nutrient value of the fermented plants with the highest protein content. 24.86 percent and NDF 27.06% (P <0.05) and quality of fermented plants showed that this group shourd the high guality score of 23 out of 25.
Keywords: Cassava leaves, Molasses, Brahman Cattle



อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ
ผู้วิจัย สมฤทัย สายลุน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89358 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง

อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline  Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ

Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life  of

ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum  grandifflora )

โดย                       นางสาวสมฤทัย  สายลุน

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต  ( เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. สุจิตรา  สืบนุการณ์

ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline  Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 7 Factorial  in  Completely Randomized  Design มี 2 ปัจจัย คือ 1. ความเข้มข้นของ Heiter มี 4 ระดับ ได้แก่ a1 = 0 %, a2 = 1 %,  a3= 2 %และa4 = 3% และ 2. ความเข้มข้นของ 8 – hydroxyquinoline sulfate   มี 7 ระดับ ได้แก่ b1 = 0 ppm  b2  = 150 ppm b3 = 200 ppm b4 = 250 ppm  b5 = 300 ppm                 b6 = 350 ppm และ b7= 400 ppm รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่า  การใช้น้ำกลั่นหรือการปักแจกันในสารละลาย 8 – HQS 150 ppm เพียงอย่างเดียวสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยของดอกเบญจมาศได้นาน 8 วัน และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าการใช้สารละลายไฮเตอร์ ร่วมกับ 8 – HQS ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศได้ ดอกเบญจมาศมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียงแค่ 5 – 8 วัน เท่านั้น ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น คือ 8 วัน แต่การใช้สารละลาย ไฮเตอร์ 1% ร่วมกับ 8 – HQS300 ppm  สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีการเน่า หรือการเกิดสีเหลืองของโคนก้านดอกน้อยที่สุดคือ 0.05 ซม. และมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยปานกลางคือ 7 วัน

 


เข้าสู่ระบบ