งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92951
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92903
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92297

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อิทธิพลของ Heiter และ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อ การยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
ผู้วิจัย นางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89195 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่องอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกัน    

ของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
 Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of White

Chrysanthemum (cv. Yuko)

โดยนางสาวพรสวรรค์  แปลงศรี

ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา  2558

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.สุจิตรา  สืบนุการณ์

 

ศึกษาอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ โดยวางแผนการทดลองแบบ6x 5Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiterความเข้มข้น 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 5 mlมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 23.40 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ -18.69% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 22.80 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ -12.42% มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01) นอกจากนี้จากการทดลองพบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.7-0.9% ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น อายุการปักแจกันมีแนวโน้มสั้นลง และดอกเบญจมาศมีอัตราการดูดน้ำผิดปกติ ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiterเท่ากับ 0.1% และไม่เกิน 0.3% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด จึงทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 15.60 วัน



ประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91428 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง

ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น



ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด พันธุ์เทียนลาย 52
ผู้วิจัย ณัฐพงษ์ ชินทวัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88910 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด
พันธุ์เทียนลาย 52
Study of Split Chemical Fertilizer Application on Growth and Yield of Maize ( Zea mays cv.Tian-lai 52 )
โดย นายณัฐพงษ์ ชินทวัน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรและอัตราปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ทำการทดลองที่แปลงปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า พบว่าการใส่ปุ๋ยอัตรา16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด (แบ่งใส่ 4 ครั้ง) มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 35 61 81 114 และ 139 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 14 21 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ส่วนผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกของการใส่ปุ๋ยอัตรา 30.5-7.5-7.5 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 4ครั้ง) ให้ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงสุดคือ 1060 กิโลกรัมต่อไร่ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ในขณะที่ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดปอกเปลือก การใส่ปุ๋ยอัตรา 16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง)ให้ผลผลิตสูงสุด 682 กิโลกรัมต่อไร่และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05)



ศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทอดกล้วยไข่ดิบก่อนการ แช่เยือกแข็งที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพของเฟรนช์ฟรายส์กล้วยไข่
ผู้วิจัย จิราวรรณ์ ลุนพันธ์ และ สำเนียง ณะวงวิเศษ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 90008 ครั้ง ดาวน์โหลด 52 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทอดกล้วยไข่ดิบก่อนการแช่เยือกแข็งที่มีผลต่อลักษณะคุณภาพของเฟรนช์ฟรายส์กล้วยไข่เนื่องจากผลกล้วยเหมาะต่อการบริโภคสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารในการบริโภคสด หรือ การแปรรูปเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน และได้เล็งเห็นถึงปัญหาของกล้วยซึ่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณมากและราคาต่ำ ในบางช่วงของปี จึงต้องการเพิ่มมูลค่าของกล้วยไข่ดิบโดยมีอุณหภูมิและเวลาในการทอดก่อนการแช่เยือกแข็งที่ทำการศึกษา คือ อุณหภูมิที่ใช้ทอดได้แก่ 140, 150 และ 160 องศาเซลเซียสและเวลา 20, 40 และ 60 วินาที วิเคราะห์ทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ความกรอบ และโอกาสการเกิดกลิ่นหืน ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิและเวลาที่แตกต่างในการทอดมีผลทำให้ค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) และโอกาสการเกิดกลิ่นหืนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ซึ่งแสดงโดยการวิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีแนวโน้มต่อค่าความกรอบ การประเมินทางด้านประสาทสัมผัส โดยผู้ประเมินทั่วไป พบว่าอุณหภูมิและเวลาในการทอดก่อนการแช่เยือกแข็งของผลิตภัณฑ์เฟรนช์ฟรายส์จากกล้วยไข่ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์เฟรนช์ฟรายส์จากกล้วยไข่อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05)


เข้าสู่ระบบ