งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92962
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92913
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92301

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ม่วงเทพรัตน์ ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ผู้วิจัย อุบล พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90172 ครั้ง ดาวน์โหลด 190 ครั้ง

                 ศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ม่วงเทพรัตน์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 7 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 14 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำชิ้นส่วนตายอดและตาข้างของม่วงเทพรัตน์มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลา

4 สัปดาห์ (28 วัน) ชิ้นส่วนและสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงม่วงเทพรัตน์และพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ ชิ้นส่วนตาข้างที่ไม่เติม BA มีจำนวนยอดใหม่มากที่สุด

(5.20 ยอด/ชิ้นส่วน) และมีการพัฒนาของต้นกล้าอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า

มากที่สุด (2.48 เซนติเมตร) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงที่สุด (100%) รองลงมาได้แก่

การใช้ชิ้นส่วนตายอดร่วมกับ BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการแตกยอดและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง ได้แก่ 3.60 ยอด/ชิ้นส่วนและ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

 



ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย ณรงค์ฤทธิ์ อุ่นใจ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88556 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may cv.Big White 852 Hybrid) Under Drought Stress
โดย นายณรงค์ฤทธิ์ อุ่นใจ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของ ต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะที่ความเข้มข้น 0 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทาให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะสูงที่สุด และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในสารละลายกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในน้ากลั่นแล้วได้รับน้าตามปกติ กลุ่มที่ 2 แช่น้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3 แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นาไปปลูกในเรือนเพาะชา โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับน้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทาให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดน้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีความยาวรากสด น้าหนักสดราก และน้าหนักแห้งรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลาต้นสดเท่ากับ 0.48 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
คาสาคัญ : กรดซาลิไซลิก ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 สภาวะแห้งแล้ง



อิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟิน- นาคราชชนิดใบหยาบ
ผู้วิจัย ปนัดดา สุภาษร | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88656 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                  อิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟิน-

นาคราชชนิดใบหยาบ

Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of Polynesian Foot Fern

(Davallia solida)

โดย                    นางสาวปนัดดา  สุภาษร

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.สุจิตรา  สืบนุการณ์

 

ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ โดยวางแผนการทดลองแบบ 6x 5Factorial in Completely Randomized Design

เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 20 ml มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 21.10 วัน มีเปอร์เซ็นต์การเหลืองของใบน้อยที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (26 วัน) คือ 31.76% ของพื้นที่ใบทั้งหมด และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ 9.36% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml หรือ 5 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 20.80 วัน และ 20.00 วัน ตามลำดับ และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ 9.40% และ 4.93% ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า การใช้สารละลาย Heiter ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูปในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี ของใบจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiter เท่ากับ 0.1% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด (pH 3-4) จะทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียง 16.39 วัน และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)

คำสำคัญ  ใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ  Heiter  น้ำมะนาวสำเร็จรูป  การยืดอายุการปักแจกัน



การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย ศิรินันท์ ศิริยา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90680 ครั้ง ดาวน์โหลด 101 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Rice Straw to Substitute Sawdust for Spilt Gill Mushroom
(Schizophyllum commune) Production
โดย นางสาวศิรินันท์ ศิริยา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้า ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่
2 ขี้เลื่อย 75% ฟางข้าว 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ฟางข้าว 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% และ กลุ่มทดลองที่ 5 ฟางข้าว 100% พบว่าการใช้ฟางข้าว 100% เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยเป็นอย่างดี เนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15.1 วัน 79 ดอกต่อถุง และ 20.5 กรัม ตามลาดับ รองลงมา ได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% มีระยะการบ่มตัวของเชื้อ และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 16.1 วัน และ 18.7 กรัม ตามลาดับ แต่ให้จานวนดอกเฉลี่ยไม่แตกต่างทางสถิติกับ ฟางข้าว 100% คือมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 78.5 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง เนื่องจาก ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดช้าที่สุด (21 วัน) และมีปริมาณดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 57.1 ดอก/ถุง และ 15.2 กรัม/ถุง และเมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนของฟางข้าวในวัสดุเพาะ พบว่าการเพิ่มฟางข้าวให้มากขึ้นส่งผลให้มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกเร็วขึ้น จานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว และผลผลิต


สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938


เข้าสู่ระบบ