งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สุนทร วงวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88243 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชจากใบมันสาปะหลังและแมงลักคา
Efficacy of Weed Control from Cassava and Mintweed Leaves โดย นาย สุนทร วงวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาในการยับยั้งการเจริญเติบโตวัชพืชสาบม่วง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 4 ซ้าๆ ละ 8 กรรมวิธี รวมจานวนหน่วยทดลองทั้งหมด 32 หน่วยทดลองโดยมีกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ให้น้าตามปกติและกลุ่มพ่น เอทิลแอลกอฮอล์ 20% และกลุ่มที่ได้รับการพ่นด้วยสารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา ความเข้มข้น 1, 10, และ 20% และพ่นทุกๆ 7 วัน จนครบ 28 วัน วัดการเจริญเติบโตของสาบม่วง 5 ลักษณะ คือ ความสูง จานวนใบ
ความยาวราก น้าหนักสดและน้าหนักแห้ง ผลการทดลอง พบว่า สารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงได้ทั้ง 5 ลักษณะ โดยสารสกัดของแมงลักคาความเข้มข้น 20 % มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงดีที่สุดรองลงมาคือสารสกัดของใบมันสาปะหลัง 20 % การเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัด
ใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาทาให้การยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงเพิ่มขึ้น
ผู้วิจัย พรรณภัทร คำลอย และ สุมาลิน มังคละ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 92063 ครั้ง ดาวน์โหลด 248 ครั้ง
งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและเพิ่มทางเลือกให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเต้าหู้แข็ง การศึกษาอัตราส่วนระหว่างถั่วเหลืองกับข้าวโพดสีม่วงที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของเต้าหู้แข็งสีม่วง ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีหลังการแปรรูปของผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีผล ต่อผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง โดยกำหนดปริมาณข้าวโพดสีม่วงเท่ากับร้อยละ 0 10 และ 20โดยน้ำหนักของ ถั่วเหลืองทั้งหมด ผลการวัดค่าสี (L*a* และ b*) พบว่าค่าสี L* และค่า b* ของเต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) แต่การเพิ่มปริมาณของข้าวโพดสีม่วงเป็นผลให้ค่า สี a* มีแนวโน้มสูงขึ้น (p≤0.05) และการวิเคราะห์ลักษณะทางเนื้อสัมผัสของเต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง พบว่าค่า hardness มีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวโพดสีม่วงที่เติมลงไป ผลการวิเคราะห์ทางเคมี พบว่าปริมาณสารแอนโทไซยานินของผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีหลังการแปรรูป พบว่าโปรตีนในผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p≤0.05) ตามปริมาณข้าวโพดสีม่วงที่เพิ่มขึ้น ไขมันมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ตามปริมาณข้าวโพดสีม่วงที่เพิ่มขึ้นและเถ้ากับความชื้นมีแนวโน้มที่ไม่แตกต่าง (p>0.05) และการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่า ค่าคะแนนสี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และความชอบรวม ของเต้าหู้แข็งที่เติมข้าวโพดสีม่วงร้อยละ 10 มีแนวโน้มสูงกว่าตัวอย่างที่ไม่เติมข้าวโพดสีม่วง และที่เติมร้อยละ 20 โดยได้ค่าคะแนน 4.64 4.70 4.08 4.38 และ 4.80 ตามลำดับ
ดังนั้นจากงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักได้การยอมรับจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคมากที่สุด มีลักษณะเนื้อสัมผัส และรวมถึงค่าhardnessที่ใกล้เคียงกับสูตรควบคุม และยังมีโปรตีนที่มากกว่าสูตรควบคุม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งที่ผลิตจากถั่วเหลือง ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
ผู้วิจัย นายอิทธิพล นามห่อ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87648 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี
Organic and Chemical Fertilizer Rates on Growth and Yield of KDML 105 Rice in That Sub-District, WarinChamrap District,
UbonRatchathani Province
โดย นายอิทธิพล นามห่อ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดมหาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง 3ซ้ำผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่หลังช่วงปักดำ (50%) ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา7กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกำเนิดช่อดอก (50%) ( เป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด )ให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าว จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเฉลี่ยเมล็ดดี 100 เมล็ด สูงที่สุดคือ 172 เซนติเมตร8 รวงต่อกอ10 เปอร์เซ็นต์414 กิโลกรัมต่อไร่และ2.57 กรัมตามลำดับรองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยคอกจากมูลวัวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงปักดำ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (อัตราเกษตรกร) (กลุ่มทดลองที่ 6) มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดปานกลางเมื่อเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ย ที่มีค่าดัชนีทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคุณภาพ NPK ในพื้นที่เพาะปลูก จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการลดต้นทุนในการผลิต ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105
ผู้วิจัย พัชราภรณ์ จิตแสวง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89096 ครั้ง ดาวน์โหลด 44 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของน้้าเต้า
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on Growth
and Yield of Bottle Gourd (Lagenaria siceraria Standl)
โดย นางสาวพัชราภรณ์ จิตแสวง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของน้้าเต้าและเพื่อให้ทราบถึงชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตน้้าเต้าโดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จ้านวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้้าๆ ละ 20 ต้นดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยมูลโค (อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) และ กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยมูลค้างคาว (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) ผลการทดลองพบว่าในกลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือมีความสูงเฉลี่ยของต้น ( 200.00 เซนติเมตร) จ้านวนดอกติดผลผลิตเฉลี่ย (21.65 ดอกต่อต้น) ความกว้างผลเฉลี่ย (17.60 เซนติเมตร) จ้านวนผลผลิตเฉลี่ย (18.99 ผลต่อต้น) น้้าหนักผลผลิตเฉลี่ย (17.12 กิโลกรัม) และผลผลิตเกรด B (33.33 เปอร์เซ็นต์) มากที่สุด ในขณะกลุ่มทดลองที่ 5 ให้ผลผลิตตกเกรดหรือเกรด C มากที่สุดคือ 90.00 เปอร์เซ็นต์ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของน้้าเต้า ที่เหมาะสมที่สุดคือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่)
คาสาคัญ น้้าเต้า ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลโค ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลสุกร ปุ๋ยมูลค้างคาว