งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92939
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92880
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92294

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืช ในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง
ผู้วิจัย นายภาณุวัฒน์ บุญพิชิตทรชน | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88343 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง
Efficacy of Plant Extracts for Hawm Thung Rice Insect Pests Control
โดย นายภาณุวัฒน์ บุญพิชิตทรชน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชในท้องถิ่น เปรียบเทียบกับสารสกัดจากพืชทางการค้า ในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวหอมทุ่ง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete Block Design (RCBD) จานวน 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 5 ซ้า ดังนี้ สารสกัดจากแมงลักคา สารสกัดจากผกากรองป่า สารสกัดจากแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า และสารสกัดจาก สะเดา (การค้า) ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 500 มิลลิลิตร ต่อน้า 500 มิลลิลิตร ห่างกันทุกๆ 7 วัน เมื่อข้าวเริ่มออกรวง ผลการทดลองพบว่า การใช้สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จานวนเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และ แมลงสิง ลดลงมากที่สุด โดยการฉีดพ่นครั้งที่ 5 มีจานวนเพลี้ยจั๊กจั่นลดลง 95.35 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันสามารถทาให้จานวนแมลงสิงลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการฉีดพ่นครั้งที่ 4 เท่านั้น นอกจากนี้ การใช้สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่ายังมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือมีค่าเท่ากับ 2.06 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร หรือ 412 กิโลกรัมต่อไร่ และมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์เมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทาลายน้อยที่สุด คือ 7.36 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ สาหรับการควบคุมเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว คือ สารสกัดจากแมงลักคา สามารถทาให้เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียวลดลง 94.44 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้สารสกัดสะเดาทางการค้า และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย 1.92 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร หรือ 384 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการควบคุมแมลงสิง พบว่า การใช้สารสกัดจากผกากรองป่า สามารถทาให้แมลงสิงลดลง 93.33 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) จากการใช้สารสกัดสะเดาทางการค้า ที่ทาให้แมลงสิงลดลง 88.89 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการควบคุมทั้งเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และ แมลงสิง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง แนะนาให้ใช้ สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงทั้ง 2 ชนิด ได้ดีกว่าการใช้สารสกัดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว



ผลของการเสริมวิตามินซีในอาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลาทอง
ผู้วิจัย เกียรติศักดิ์ นะดาบุตร และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89349 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

ผลของการเสริมวิตามินซีในอาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลาทองซึ่งในการทดลองนี้ใช้ปลาทอง ขนาดน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5.4 – 6.6 กรัมต่อตัวโดยนำปลาขนาดใกล้เคียงกันใส่ตู้กระจกขนาดความจุ 70 ลิตร โดยแต่ละตู้ใส่ลูกปลาทอง 5 ตัวต่อตู้ เลี้ยงด้วยการเสริมวิตามินซีในอาหารสำเร็จรูป และทำการทดลอง 4 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป (ไม่เสริมวิตามินซี) ชุดการทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป เสริมวิตามินซี 300 มิลลิกรัม ชุดการทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป เสริมวิตามินซี 400 มิลลิกรัม และ ชุดการทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป เสริมวิตามินซี 500 มิลลิกรัม ให้อาหารปลาทดลองแต่ละชุดการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4Treatment แต่ละ Treatment มี 3 Replication เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า การศึกษาการเจริญเติบโตในด้าน น้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้นต่อตัวต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพราะต่อวัน และอัตราการรอดตาย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากอาหาร ในด้านอัตราการกินอาหาร และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยปลาทองที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมวิตามินซีที่ระดับ 400 มิลลิกรัม  มีการเจริญเติบโต และ การใช้ประโยชน์จากอาหารดีที่สุดเมื่อเทียบกับปลาทองที่เสริมวิตามินซีในระดับต่างๆ

 



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน
ผู้วิจัย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89295 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                      การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน

                             Efficacy  of  Plant  Extracts  for Aphids  Control

โดย                       นางสาวธีระวัลย์     วงมาเกษ

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา              2558

อาจารย์ที่ปรึกษา       อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

             ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  วางแผนการทดลองแบบ  3×3 Factorial+1 in Completely Randomized Design  (CRD) โดยใช้ความเข้มข้น  5   10 และ 15  เปอร์เซ็นต์  ที่เวลา 24  48 และ 72 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับ  Ethyl  alcohol 50%  เป็นชุดควบคุม  พบว่า  สารสกัดจากใบดาวเรืองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ 48   ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของเพลี้ยอ่อนมากที่สุด  คือ  88.89 เปอร์เซ็นต์  และมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  และสารสกัดจากใบแมงลักคา   ตามลำดับ  ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดจากพืชที่เหมาะสมที่สุด คือ  15  เปอร์เซ็นต์  ที่ 48 ชั่วโมง  มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย  98.33 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่      10 เปอร์เซ็นต์  และ  5 เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับ   และเมื่อตรวจสอบระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษ  (LC50 และ LT50)    พบว่า   สารสกัดจากใบดาวเรืองมีค่าน้อยที่สุด   ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษมากที่สุด  ดังนั้น  หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  แนะนำให้ใช้สารสกัดจากใบดาวเรือง  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ 15 เปอร์เซ็นต์  ภายใน  48   ชั่วโมง  สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนตาย  ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ  15  เปอร์เซ็นต์  ในขณะที่สารสกัดจากใบแมงลักคาทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด



การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2: กรณีศึกษา อำเภอชานุมา จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้วิจัย ธราวุฒ สุวอ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88352 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต      ของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2: กรณีศึกษา อำเภอชานุมาน              จังหวัดอำนาจเจริญ

Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2): A Case Study of Chanuman District, Amnat Charoen Province

โดย                          นายธราวุฒ สุวอ

ชื่อปริญญา                  วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                  2557

อาจารย์ที่ปรึกษา           อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา

 

งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรบ้านหินสิ่ว ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่  5) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่  ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้นงาขาว น้ำหนักผลผลิตรวมทั้งหมด น้ำหนักแห้งของเมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวมากที่สุด คือ 175.2 เซนติเมตร 4,608 กก./ไร่ 362 กก./ไร่ และ.0.079 รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักแห้งผลผลิตรวมปานกลาง แต่ให้น้ำหนักแห้งเมล็ดเฉลี่ย และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุด แต่การใส่ปุ๋ยทุกรูปแบบ ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของงาขาวมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยและมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)

คำสำคัญ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก (มูลวัว)


เข้าสู่ระบบ