รายละเอียดงานวิจัย

  1. การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง
  2. Study of Chitin and Chitosan Quantity From Animal Shells and Amtrak Mushrooms
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2558
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา
  7. อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
  8. บทคัดย่อ

     

    เรื่อง                         การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และ                                                                          เ                               เห็ดกระด้าง                                                                                                                                                        w                              Study of Chitin and Chitosan Quantity from Animal Shells and                                                     ก                              Amtrak Mushrooms                                                                                                    โดย                          นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา                                                                                               ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                                                              ปีการศึกษา                 2558                                                                                                         อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์    

              การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely  Randomized Design;  CRD) กำหนดให้มี 4 กลุ่มทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยและค่าร้อยละของไคตินที่มีมากที่สุดคือ ไคตินจากกาบหอยโดยมีค่าเท่ากับ 852.51 กรัม และ 85.25% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับปริมาณไคตินจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคตินที่ได้จากเห็ดกระด้าง 734.42กรัม และ 73.44% เปลือกปู 576.09กรัม และ 57.61% ในขณะที่ปลือกกุ้งมีน้ำหนักเฉลี่ยไคตินและร้อยละของไคตินน้อยที่สุดคือ 489.09กรัม และ 48.91% ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของไคโตซานและค่าร้อยละของไคโตซาน พบว่า การสกัดจากกาบหอยมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 834.81 กรัม และ 83.48% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคโตซานที่ได้จากเห็ดกระด้าง 737.77กรัม และ 73.78% ไคโตซานจากเปลือกปู 546.43กรัม และ 54.64% ในขณะที่ไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีน้อยที่สุดคือ 421.44กรัม และ 42.14% ตามลำดับ ส่วนการละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายของไคโตซานที่ละลายได้ดีที่สุดคือ ไคโตซานจากกาบหอย โดยมีเปอร์เซ็นต์การละลายอยู่ที่ 42.8% ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณการละลายไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นการละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้ง 35.5% ไคโตซานจากเปลือกปู 26.7% และไคโตซานจากเห็ดกระด้างมีการละลายน้อยที่สุดคือ 13.9% ตามลำดับ ปริมาณไคตินและไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้างมีปริมาณแตกต่างกัน โดยการสกัดจากกาบหอยจะมีปริมาณไคติน-ไคโตซาน มากที่สุดและมีปริมาณการละลายในน้ำส้มสายชูดีที่สุด รองลงมาคือเห็ดกระด้าง เปลือกปูและเปลือกกุ้ง ตามลำดับ แต่เห็ดกระด้างมีปริมาณการละลายน้อยที่สุด ดังนั้นหากไม่มี กาบหอย แนะนำให้ใช้เปลือกปู มาทำการสกัด จะทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ดีเช่นเดียวกัน

  9. ไคโตซาน ไคติน เห็ดกระด้าง เปลือกหุ้มลำตัวสัตว์
  10. ดาวน์โหลด


  11.     








เข้าสู่ระบบ