รายละเอียดงานวิจัย

  1. ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อ การเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
  2. Effects of Golden Apple Snail Bio-Extract on Growth and Yield of Shallot cv. Srisaket :A Case Study of Nam Yeun District, Ubon Ratchathani Province
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2558
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. นายภูรีภัทร์ บุญฉิม
  7. อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
  8.  

    บทคัดย่อ

     

     

    เรื่อง                  การประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและ

                            ผลผลิตหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ: กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

                    Effects of Golden Apple Snail Bio-Extract on Growth and Yield of

                    Shallot cv. Srisaket: A Case Study of Nam Yeun  District,

                    Ubon Ratchathani Province

    โดย                   นายภูรีภัทร์  บุญฉิม

    ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

    ปีการศึกษา         2558

    อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

     

                 ศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ อัตรา 1: 250 ซีซี มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย มากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 47.15 กรัมต่อกอ (1,886 กิโลกรัมต่อไร่) และ 40.48 กรัมต่อกอ (1,619.20 กิโลกรัมต่อไร่) ตามลำดับ ส่วนจำนวนใบต่อต้น อัตราการแตกกอเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางของหัวและความยาวราก มีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ การใช้อัตรา 1 : 500 ซีซี มีความสูงเฉลี่ย 27.16 เซนติเมตร น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 41.15 กรัมต่อกอ (1,646 กิโลกรัมต่อไร่) และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย 37.82 กรัมต่อกอ (1,512.80 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่การใช้น้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ อัตรา 1 : 2000 ซีซี มีความสูงเฉลี่ยของต้น และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย น้อยที่สุดในกลุ่มของน้ำหมักชีวภาพ แต่มากกว่าการใช้น้ำธรรมดา (control) โดยมีค่าเท่ากับ 26.36 เซนติเมตร และ 31.92 กรัมต่อกอ (1,276.8 กิโลกรัมต่อไร่) แต่มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัวมากที่สุด คือ 1.38 เซนติเมตร ดังนั้นหากเกษตรกรต้องการใช้น้ำหมักชีวภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ แนะนำให้ใช้ อัตรา 1: 250 ซีซี

  9. หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่
  10. ดาวน์โหลด


  11.     








เข้าสู่ระบบ