รายละเอียดงานวิจัย

  1. ผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืน ของน้ำมันถั่วเหลือง
  2. Effect of mango peel Tiliacoratriandra extract on soybean oil rancidity inhibit
  3. งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
  4. 2556
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  6. งานวิจัยปริญญาตรี
  7. ธนิดา แก่นวงษ์ และ ปวีณา วงศ์ศรีทา
  8. สุชาดา เลาหศิลป์สมจิตร์
  9. งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง โดยเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูล-อิสระ จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1,823.45 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสารสกัด ซึ่งมีปริมาณมากกว่าสารสกัดใบย่านางที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 957.52 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสาร-สกัด สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเท่ากับ 93.78 % Inhibition ซึ่งมีกิจ- กรรมการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดใบย่านาง มีค่าเท่ากับ 81.90 % Inhibition ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ปริมาณ สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อน้ำมันถั่วเหลืองที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 20:200 และ 100:200 วิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์และค่าโพลาร์ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมัน ชนิดสารสกัด อัตราส่วน ระยะเวลาการเก็บรักษา และยังมีปัจจัยร่วมที่มีผลต่อการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมันมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดน้ำมันมีผลร่วม กับระยะเวลาการเก็บรักษาชนิดน้ำมัน และชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดน้ำมันและชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดสารสกัดและอัตราส่วนมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้มสามารถชะลอ การเกิดเปอร์ออกไซด์ที่ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 17.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 100:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม มีค่าเท่ากับ 20.67 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะ- ม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม  มีค่าเท่ากับ 21.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้มสามารถชะลอการเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 28.67 มิลลิกรัม-สมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้ม มีค่าเท่ากับ 31.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 100:200 มีค่าเท่ากับ 36.00 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางทุกอัตราส่วน สามารถชะลอการเกิดกลิ่นหืนได้ในน้ำมันที่ต้มและน้ำมันที่ไม่ต้มไม่แตกต่างกัน ค่าโพลาร์มีค่าน้อยกว่า 20 % ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 25 จึงเหมาะแก่การบริโภค

  10. สารสกัดเปลือกมะม่วง สารสกัดใบย่านาง, น้ำมันถั่วเหลือง, ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก, ทั้งหมดกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ, ค่าเปอร์ออกไซด์, ค่าโพลาร์
  11. ดาวน์โหลด


  12.     








เข้าสู่ระบบ